หลักสูตรการควบคุมคุณภาพแบบ QC story
หลักการและเหตุผล
การดำเนินกิจกรรมในแต่ละกระบวนการมีเป้าหมายเฉพาะเรื่อง เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของกระบวนการถัดไป จนถึงลูกค้าผู้ใช้งาน ในแต่ละกระบวนการมีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติงาน เช่น คน เครื่องจักรอุปกรณ์ วัตถุดิบ วิธีการ และสภาพแวดล้อม 5M1E
ไม่มีปัจจัยใดที่จะคงความสมบูรณ์และเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความผิดปกติของปัจจัยเหล่านั้น ปัญหาย่อมเกิดขึ้น
ปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่างผลที่เกิดขึ้นจริงและสิ่งเป้าหมายที่ต้องการ/คาดหวังซึ่งอาจเกิดขึ้นซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบที่สามารถวัดได้และรู้สึกได้ แต่ทุกปัญหาต้องได้รับการแก้ไข/ป้องกันการเกิดซ้ำ ในอุตสาหกรรมการผลิตได้มีการประยุกต์ใช้หลักการแก้ไขปัญหาหลากหลายประเภทเข้ามาใช้เช่น QCC , QC Story , 8D ,5 Principles ,CAR เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงกระบวนการทั้งหมด ซึ่งจะพบว่าผู้ที่แก้ไขรู้เพียงกระบวนการไม่รู้เครื่องมือสำหรับใช้ในการวิเคราะห์หรือแสดงผลก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
เดิมมา QC Story คือรายงานที่ใช้ในองค์กรเพื่อใช้ในการอธิบายเรื่องการแก้ปัญหาที่ผ่านมาอย่างง่ายๆ อย่างไรก็ตามกิจกรรมของ QC Story แสดงว่าเรื่องเหล่านี้นำไปสู่ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาได้ดีและง่ายต่อการเข้าใจและทำให้กิจกรรมแก้ไขปัญหามีความก้าวหน้าอย่างมั่นคง
ปัจจุบัน QC Story ได้รับการพิจารณาให้เป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่ใช้ในกิจกรรมแก้ไขปัญหาเพิ่มจากขั้นตอนการจัดทำรายงาน
QC Story (คิวซีสตอรี่) คือ “ขั้นตอนการแก้ไขหรือปรับปรุงยกระดับ ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจถึงเรื่องราวโครงการของกระบวนการทำงาน ผ่านกิจกรรม PDCA อย่างเป็นระบบ”
วัตถุประสงค์หลักสูต
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจหลักการ/กระบวนการแก้ไขปัญหา QC Story ของ Japanese Standards Association และเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา และการเลือกตัดสินใจถึงมาตรการที่เหมาะสม
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึก อบรม มีทักษะการวิเคราะห์สาเหตุและการระบุวิธีการจัดการ/เลือกแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับแต่ละปัญหา
รายละเอียดหลักสูตร
วันและเวลา | หัวข้อการอบรม |
09:00 – 16:00 | บทนำ
– ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการทำธุรกิจ – ปัญหาและมุมมองของการเกิด/แก้ไขปัญหา – ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาโดยหลักการ PDCA – QC Story 8 ขั้นตอน และ QC 7 Tools STEP 1 การเลือกหัวข้อปรับปรุง – ตรวจสอบถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตนเอง – ระบุและรวบรวมรายการของปัญหา – ประเมินตัวปัญหาโดยตารางและสรุปหัวข้อ ของ JSA STEP 2 ให้เหตุผลในการกำหนดหัวข้อ – การระบุผลกระทบและแรงจูงใจ STEP 3 วิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน – การเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด – การจัดลำดับรายการปัญหาสำหรับการวิเคราะห์สาเหตุ (Pareto) – วิธีการตั้งเป้าหมายจากสูตรประเมินโอกาส STEP 4 ชี้บ่งต้นตอของปัญหา คัดเลือกวิธีการแก้ปัญหาและวางแผนกิจกรรม – การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและการให้คะแนนความสำคัญของสาเหตุ – วิธีการยืนยันสาเหตุของปัญหา – การนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา – การประเมินวิธีแก้ไขจากตารางประเมินค่า – การจัดทำแผนการดำเนินการแก้ไข STEP 5 ดำเนินการตามแผน – การดำเนินการแก้ไข STEP 6 เฝ้าติดตาม และประเมินผลกิจกรรมที่ปฏิบัติ – การเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด – การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมาย STEP 7 การจัดทำมาตรฐาน – การจัดทำมาตรฐานและกำหนดจุดควบคุม – การฝึกอบรม – การเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด – การยืนยันผลการรักษาสภาพ STEP 8 ศึกษาปัญหาอื่นและเลือกหัวข้อปัญหาครั้งถัดไป – ทบทวนผลการดำเนอนงานและคัดเลือกหัวข้อปัญหาถัดไป
|
16:00 – 16:30 | สรุปการอบรม การเสนอแนะ และการถามตอบ |
ผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการอบรม
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
ติดต่อสอบถามข้อมูล
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่
โทร : +66 (0)63 187 9718
อีเมล : eqa.training@equalassurancethai.com
ติดตามกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ facebook.com/equal.assurance.co.th