หลักสูตรเทคนิคการทำไคเซ็น และ ข้อเสนอแนะ Kaizen Technique and Suggestion

หลักสูตรเทคนิคการทำไคเซ็น และ ข้อเสนอแนะ

Kaizen Technique and Suggestion

หลักการและเหตุผล

ทุกกิจกรรมมีการใช้ปัจจัยสำหรับการผลิต เช่น คน เครื่องจักรอุปกรณ์ วิธีการ วัตถุดิบ และ สภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ใช้เพื่อสำหรับการเพิ่มผลลิตซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม แต่ปัญหาที่พบคือไม่มีปัจจัยใดที่จะมีสภาพที่สมบูรณ์ได้ตลอด จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดทั้งความสูญเสียและสูญเปล่า ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อทำให้สภาพการทำงานเป็นปกติ

Kaizen คือปรัชญาและวิธีการ “ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” แนวคิดนี้เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกา มาช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในช่วง ค.ศ. 1949-1950 โดย W. Edwards Deming ได้มีการเข้ามาฝึกอบรมเรื่องการใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 The Economic and Scientific Section (ESS) ได้รับมอบหมายให้มีการพัฒนาทักษะด้านการจัดการให้กับระดับหัวหน้างาน โดยใช้หลักการของ Training Within Industry (TWI) ซึ่งก็สามารถประสบความสำเร็จอย่างสูงและเป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับหัวหน้างานทุกระดับหนึ่งในโปรแกรมฝึกอบรมนั้นคือ “การปรับปรุงใน 4 ขั้นตอน” หรือที่เรียกว่า “Kaizen Eno Yon Dankai.” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนญี่ปุ่นรู้จักคำว่า Kaizen จากนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ TOYOTA ได้มีการนำหลักการดังกล่าวมาพัฒนาต่อ ใน ค.ศ. 1930 โดย Dr. Taiichi Ono and Dr. Shigeo Shingo สองคนนี้ร่วมกันพัฒนาปรัชญาและวิธีการ Kaizen โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานที่มีอยู่ในหลักการ Job method คือ 5W1H และ ECRS เข้ามาใช้โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการระบุและกำจัด “Muda” หรือของเสียในทุกพื้นที่รวมทั้งกระบวนการผลิตและในปี 1986 Dr. Masaaki Imai ได้แนะนำให้โลกตะวันตกรู้จัก “Kaizen” ผ่านหนังสือของเขาที่ชื่อว่า “Kaizen: The Key to Japan’s Competitive Success”

 

วัตถุประสงค์หลักสูต

  • เพื่อทำให้พนักงานในทุกระดับเข้าใจแนวคิดและหลักการ KAIZEN และมีทักษะในการดำเนินงาน Kaizen โดยผ่านระบบข้อเสนอแนะ Suggestion System

รายละเอียดหลักสูตร

วันและเวลา หัวข้อการอบรม
09:00 – 16:00
  1. บทนำ
  • ประวัติความเป็นมาของ KAIZEN
  • ประเภทของ KAIZEN
  • เป้าหมาย และ ผลลัพธ์ ในการ KAIZEN
  1. การค้นหาประเด็นการปรับปรุงในเพื่อที่ทำงาน
  • ความสูญเปล่า 8 ประการ
  • Muda Mura Muri
  • การสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย
  • การใช้หลัก ECRS
  • การวิเคราะห์และแนวคิดการปรับปรุงอย่างง่ายโดย 5W1H
  1. การสร้างระบบ KAIZEN ข้อเสนอแนะ
    • แบบรายบุคคล
    • แบบกลุ่มย่อย
  • ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียน ข้อเสนอแนะ
  • ตัวอย่างการปรับปรุงอย่างง่าย
  • Work Shop การเสนอ IDEA การ Kaizen
  • การตรวจสอบผลการดำเนินงาน
  • แนวคิดการกำหนดเกณฑ์การประเมิน
  • การส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม POST TEST
  • Post Test
16:00 – 16:30 สรุปการอบรม การเสนอแนะ และการถามตอบ

 

ผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการอบรม

หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ

 

ติดต่อสอบถามข้อมูล

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่

โทร : +66 (0)63 187 9718

อีเมล : eqa.training@equalassurancethai.com

ติดตามกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ facebook.com/equal.assurance.co.th