เตรียมตัวล่วงหน้ากับ ฉบับร่าง GHP version 5 ส่วนที่ 4: TRAINING AND COMPETENCE ส่วนที่ 4: การฝึกอบรมและทักษะและความสามารถ?
มาทำความเข้าใจกับข้อกำหนดฉบับร่างส่วนแรก คือ ส่วนที่ 4: TRAINING AND COMPETENCE ส่วนที่ 4: การฝึกอบรมและทักษะและความสามารถ
สำหรับการปรับเปลี่ยนข้อนี้ถือว่าเป็นปรับ เรื่องการฝึกอบรม พัฒนาคน ที่อยู่ในสถานประกอบการด้านอาหารแบบเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะดูเรื่อง ทักษะความสามารถ ความรู้ด้าน อาหารปลอดภัย เรื่องสารก่อภูมิแพ้ การควบคุมสารเคมี และยังเขียนขยายให้ส่วนของครัวของโรงแรม ร้านค้า หรือ ค้าปลีกต่างๆ จากที่ประเมินแล้ว ใช้หลักการ 9001 ที่เกี่ยวกับการฝึกอบรม และหลักสูตรที่ กำหนดใน ISO22000 /FSSC22000 หรือ BRCGS ครบถ้วน ลองดูรายละเอียดที่เพิ่ม ตามเนื้อหาต่อไป
ฉบับร่าง GHP
(CXC 1-1969, Rev. 5-2020 (New Version) |
Codex GMP
( CAC/RCP 1-1969, Rev.4- 2003) |
ส่วนที่ 4: การฝึกอบรมและความสามารถ
4.1 ความตระหนัก และความรับผิดชอบ 4.2 โปรแกรมการฝึกอบรม 4.3 การแนะนำและการกำกับดูแล 4.4 การฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูความรู้ |
10.การฝึกอบรม
10.1 ความตระหนักและความรับผิดชอบ 10.2 รายการฝึกอบรม 10.3 การแนะนำและกำกับดูแล 10.4 การฝึกอบรมฟื้นฟูความรู้ |
ฉบับร่าง GHP version 5 ส่วนที่ 4: TRAINING AND COMPETENCE ส่วนที่ 4: การฝึกอบรมและทักษะและความสามารถ
วัตถุประสงค์:
ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านอาหารที่สัมผัสโดยตรงหรือโดยอ้อมกับอาหารควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหารอย่างเพียงพอเพื่อทำให้มั่นใจว่ามีความสามารถเหมาะสมกับการปฏิบัติงานที่ต้องดำเนินการ
เหตุผล:
การฝึกอบรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อทุกระบบสุขลักษณะอาหาร และทักษะและความสามารถของบุคลากร
การฝึกอบรมด้านสุขลักษณะที่เพียงพอ และ/หรือการให้คำแนะนำ และการกำกับดูแลของบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมอาหารมีส่วนช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารและความเหมาะสมของอาหารในการบริโภค
สรุปสิ่งที่เพิ่มเติมจาก Codex GMP ( CAC/RCP 1-1969, Rev.4- 2003)
- วัตถุประสงค์ของ ข้อนี้ มีการ เพิ่ม all และ and the competence of personnel และปรับจาก Inadequate -> Adequate จาก People => Peronal
สิ่งที่ต้องทบทวน : เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร ครอบคลุมทุกคนในสถานประกอบการ ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านอาหาร เพราะฉะนั้น ทบทวนว่ามีการกำหนดขอบข่ายไว้ครอบคลุมหรือไม่ ในเอกสารด้านการฝึกอบรม ?
- สำหรับข้อที่ 1 Awareness and Responsibilities ความตระหนัก และความรับผิดชอบ มีการขยายความ และปรับคำดังนี้
- การฝึกอบรมสุขลักษณะอาหารเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับธุรกิจอาหาร บุคลากรทุกคนควรตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของตนเองในการปกป้องอาหารจากการปนเปื้อนหรือการเสื่อมสภาพ บุคลากรควรมีความรู้ และทักษะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถจัดการกับอาหารได้อย่างถูกสุขลักษณะ ผู้ที่จัดการกับสารทำความสะอาด หรือสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายอื่นๆ ควรได้รับคำแนะนำการใช้งานอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนอาหาร
( มีการเปลี่ยนคำจาก food handlers -> personnels ตัดคำว่า strong cleaning chemical => cleaning chemical และ ปรับคำจาก in safe handling techniques. => proper use to prevent contamination of food.)
สิ่งที่ต้องทบทวน : ทบทวนระบบการฝึกอบรม เพื่อทำให้เกิด ความตระหนัก รู้ถึงความรับผิดชอบ มี ความรู้ มีทักษะและ ความสามารถ ของบุคคล กรในสถานประกอบการ ในด้านความปลอดภัยในอาหาร รวมทั้งผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
- สำหรับข้อที่ 2 Training Programmes โปรแกรมการฝึกอบรม มีการตัดคำ เพิ่มข้อกำหนดใหม่พอสมควร รายละเอียดดังนี้
องค์ประกอบ (เดิมใช้ Factors )ที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดขอบเขต (เดิมใช้คำว่า assessing the level ) ของการฝึกอบรมที่จำเป็น ได้แก่:
- ธรรมชาติของ อันตรายที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค หรือจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสีย การมีอยู่ของสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพที่ หรือสารก่อภูมิแพ้ที่รู้
- ลักษณะที่มีการผลิต แปรรูป ดูแลจัดการ และบรรจุอาหาร โดยรวมถึงโอกาส((likelihood (เดิมใช้probability ))ในการปนเปื้อน
- ขอบเขต และลักษณะของการแปรรูป หรือการจัดเตรียมเพิ่มเติมก่อนบริโภคอาหาร ( แต่ก่อนใช้ final consumption)
- ระยะเวลาที่คาดหวังไว้ก่อนที่จะบริโภคอาหาร และ
- การใช้ และการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
โปรแกรมการฝึกอบรมควรพิจารณาถึงระดับความรู้ และทักษะของบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม หัวข้อต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณาสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมสามารถรวมถึงเรื่องต่อไปนี้ตามความเหมาะสมกับหน้าที่ของบุคคล:
- หลักการเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหารที่ใช้กับธุรกิจอาหาร
- มาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารที่ใช้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
- ความสำคัญของสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี โดยรวมถึงการล้างมืออย่างถูกต้อง และการสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม หากจำเป็น เพื่อความปลอดภัยของอาหาร
- การปฏิบัติสุขลักษณะที่ดีที่ใช้กับธุรกิจอาหาร
- การดำเนินการที่เหมาะสมเมื่อพบปัญหาด้านสุขลักษณะอาหาร
นอกจากนี้ สำหรับการปฏิบัติงานด้านค้าปลีก และ ธุรกิจด้านบริการอาหาร ไม่จะเป็น บุคคลกรที่ มีปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณาหนึ่ง หรือไม่นั้น ก็ยังอาจ มองถึงความจำเป็นว่า เรื่องที่ต้องมีการสื่อสารข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (เช่น สารก่อภูมิแพ้) ให้กับลูกค้า
สิ่งที่ต้องทบทวน :
- ทบทวนแผนการฝึกอบรม ว่ามีเรื่องของการฝึกอบรมตามที่ปรับใหม่หรือไม่ มีการกำหนดแผนฝึกอบรมโดยดูเรื่อง ความรู้ความสามารถที่จำเป็นแต่ละตำแหน่งงาน หากเป็นร้านอาหาร ครัวของโรงแรม หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ต่างๆ อาจต้องเพิ่มเรื่อง การแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้า เช่น ไม่ทราบว่าคุณลูกค้าแพ้ถั่ว หรือ งาไหมค่ะ เพราะ ส่วนประกอบของเมนูนี้ มี ถั่วและงา ?
- สำหรับข้อที่ 4.3 Instruction and Supervision การแนะนำและการกำกับดูแล
รุปแบบของวิธีสอน และการกำกับดูแลที่จำเป็น จะขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ลักษณะของกิจกรรม และประเภทของอาหารที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการ หัวหน้างาน และ/หรือผู้ปฏิบัติงาน/พนักงาน เดิม of food processes ควรมีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับหลักการและการปฏิบัติด้านสุขลักษณะอาหาร เพื่อให้สามารถระบุการเบี่ยงเบนและดำเนินการ เดิม to remedy deficiencies.ที่จำเป็นได้ตามความเหมาะสมกับหน้าที่ของตนเอง
- การประเมินประสิทธิผลของการฝึกอบรม และโปรแกรมการฝึกอบรมควรดำเนินการเป็นระยะ ๆรวมถึงการกำกับดูแล และการทวนสอบเป็นประจำ เพื่อทำให้มั่นใจว่าขั้นตอนปฏิบัติถูกประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการควบคุมอาหารควรได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพอเพื่อทำให้มั่นใจว่ามีความสามารถในการปฏิบัติงาน และตระหนักถึงผลกระทบของงานที่มีต่อความปลอดภัย และความเหมาะสมของอาหาร
สิ่งที่ต้องทบทวน :
- ทบทวนระบบการปฐมนิเทศ การฝึกอบรม on the job ระบบพี่เลี้ยง ของแต่ละตำแหน่งงานในองค์กร เพื่อให้ บุคลากรเข้าใจและตระหนัก มีทักษะและความสามารถ อย่างน้อย เรื่อง หลักการและการปฏิบัติด้านสุขลักษณะอาหาร ระบุการเบี่ยงเบนและดำเนินการ ได้
- เนื้อหาของการ สอนหรือการกำกับดูแลอย่างน้อย เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถด้าน หลักการและการปฏิบัติด้านสุขลักษณะอาหาร ระบุการเบี่ยงเบนและดำเนินการ ได้
- ดูการกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมที่จำเป็นของแต่ละ ตำแหน่งงาน การประเมินผลการฝึกอบรม และการทำให้บุคลากร สามารถทำงานได้ตามหน้าที่ และตระหนักถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยอาหาร
- สำหรับข้อที่ 4 Refresher Training การฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูความรู้ มีการขยายความในส่วนของ
โปรแกรมการฝึกอบรม ควรมีการทบทวนเป็นประจำ และปรับปรุงการทำให้ทันสมัย ตามความจำเป็น ระบบต่าง ๆ ควรมีเพื่อทำให้มั่นใจว่าผู้ดูแลอาหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร เช่น พนักงานซ่อมบำรุงยังคงตระหนักถึงขั้นตอนที่จำเป็นในการดูแลรักษาความปลอดภัย และความเหมาะสมของอาหาร ควรเก็บรักษาบันทึกกิจกรรมการฝึกอบรมไว้
สิ่งที่ต้องทบทวน :
- ทบทวนแผนการฝึกอบรมว่าผู้ดูแลอาหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร เช่น พนักงานซ่อมบำรุง ได้ถูกกำหนดให้ได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนกอบรม
- การฝึกอบรมทุกครั้ง มีการจัดทำบันทึกฝึกอบรม และสมารถขอดูย้อนหลังได้หรือไม่ ?
GHP #4 โดย #Food #EqualA #Thailand