ระบบ ISO9001 ทำเองได้ ตอนที่ 9 บทบาทของ QMR การแก้ไขและป้องกัน

reader 27455 Views

ระบบ ISO9001 ทำเองได้

ตอนที่ 9 บทบาทของ QMR การแก้ไขและป้องกัน

การแก้ไขและป้องกัน (Corrective and Preventive action) เรามาทำความเข้าใจนิยามของทั้งสองคำกันก่อน

การแก้ไข (Corrective action) คือ การดำเนินการกับปัญหาหรือความไม่สอดคล้องเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นมาอีก

การป้องกัน (Preventive action) คือ การดำเนินการกับแนวโน้มของปัญหาหรือแนวโน้มของความไม่สอดคล้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

โดยข้อกำหนดของ ISO9001:2015 ข้อ 10.2 พูดถึงเรื่องของความไม่สอดคล้องและการแก้ไข ส่วนของข้อกำหนดเรื่องของการป้องกันโดยตรงเหมือนกันข้อกำหนด ISO9001:2008 แต่มีเรื่องของการจัดการกับความเสี่ยงโดยส่วนหนึ่งมีการดำเนินการป้องกันความเสี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น

ในการกำหนดกระบวนการแก้ไขและป้องกัน ต้องมีการพิจารณาดังนี้

  • การกำหนดขอบเขตปัญหาหรือแนวโน้มของปัญหา – ขอบเขตปัญหาอาจจะกำหนดให้ครอบคลุมทั้งส่วนที่มาจากภายนอก เช่น ข้อร้องเรียนลูกค้า, CAR จากการตรวจประเมินของลูกค้า ฯลฯ

ส่วนที่มาจากภายใน เช่น CAR จากการตรวจประเมินภายใน, แนวโน้มของผล KPI ที่ไม่บรรลุ, ปัญหาในกระบวนผลิต ฯลฯ

  • กระบวนการในการแก้ไขและป้องกัน – กระบวนการในการแก้ไขจะมีครบถ้วนสอดคล้องกับข้อกำหนด ISO9001:2015 ซึ่งประกอบด้วย การแก้ไขเบื้องต้น, การวิเคราะห์รากของปัญหา, การแก้ไขที่รากของปัญหา, การขยายผลการแก้ไขปัญหา, การติดตามประสิทธิผลการแก้ไข, การทบทวนความเสี่ยง
  • เครื่องมือในการวิเคราะห์รากของปัญหา – การวิเคราะห์รากของปัญหา ควรพิจารณาเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการวิเคราะห์เชิงระบบ เช่น การใช้ผังก้างปลา, ใช้เครื่องมือ Fault tree analysis, Why-why analysis หรือเครื่องมืออื่น ๆ
  • ระยะเวลาในการแก้ไข – ระยะเวลาในการแก้ไขควรกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมกับลักษณะของปัญหา

ความสำคัญในกระบวนการแก้ไขและป้องกัน คือ การฝึกฝนการวิเคราะห์รากของปัญหา และรู้หลักการป้องกันแบบเป็นระบบ รวมถึงการติดตามผลการแก้ไข ต้องมั่นใจว่าพบหลักฐานชัดเจน และได้ผล

ตัวอย่างเอกสารของ ระเบียบปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน สามารถ download ได้จากเอกสารแนบ

ตอนหน้า ตอนที่ 10 มาดู บทบาทหน้าที่ของ QMR การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร กันครับ

#ISO9001ทำเองได้, #ISO9001:2015, #QMR, #CAR, #CPAR, #CorrectiveAction