เมื่อตรวจติดตามภายในแล้วผู้ตรวจประเมิน (auditor)จะออก CAR ต้องเขียนอย่างไร ?

reader 72 Views

ทุกองค์กร กิจกรรมการตรวจติดตามภายในนั้น เป็นกิจกรรมหลักเพื่อให้ ได้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อดำเนินการตรวจติดตามภายในแล้ว หากพบประเด็นความไม่สอดคล้อง จะเริ่มที่ ใบ CAR ใบขอให้ดำเนินการแก้ไข (CAR : Corrective Action Request ขอให้ดำเนินการแก้ไข )

เพื่อให้งานของผู้ตรวจติดตามภายในง่ายขึ้น ลองใช้แนวการเขียนใบ CAR  ตามด้านล่างเพื่อให้ผู้รับการตรวจประเมิน (auditee) เข้าใจว่า จุดปรับปรุงที่ผู้ตรวจติดตามค้นพบคืออะไร

ตัวอย่างการเขียนใบ CAR

ส่วนที่ 1 สำหรับผู้ตรวจ (Auditor) : ประเด็นความไม่สอดคล้อง :

การเขียนโดยอาศัยหลักการ LERN

N : Nature of problem สภาพของปัญหา  พบความไม่สอดคล้องของระบบ  หรือ พบประเด็นความไม่สอดคล้องของระบบ
E : Evidence : หลักฐานที่พบ เช่น เอกสาร /บันทึก , สังเกตการณ์ทำงาน, สัมภาษณ์
L : Location : สถานที่พบประเด็นความไม่สอดคล้อง เช่น สโตร์วัตถุดิบ
R : Reference  : ข้อกำหนด  ของมาตรฐานที่ตรวจเช่น  ISO9001/ GHPs / หรือ QP ข้อที่ ....

ตัวอย่างการเขียนตาม : L E R N

พบว่าระบบการควบคุมสัตวรบกวนไม่มีประสิทธิ์ภาพ (N) โดยพบหลักฐานดังนี้
พบหนู  1 ตัว (E) บริเวณคลังสินค้าสำเร็จรูป (L) ซึ่งไม่สอดคล้องตามข้อกำหนด XXX  ข้อที่  XXX / QP-XX (R)

Auditor ผู้ตรวจ: Auditee ผู้ถูกตรวจ :
ส่วนที่  2 สำหรับ ผู้ถูกตรวจ (Auditee)

สาเหตุที่แท้จริงและการปฏิบัติการแก้ไข  : ผู้ถูกตรวจต้องวิเคราะห์หาสาเหตุของความไม่สอดคล้อง ว่าเกิดจากอะไร โดยใช้เครื่องมือ ในการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง เช่น  4 M Man , Machine , Method  , Material  , 5 why  , Cause & ….. brainstorm

เพราะ เปิดประตูโหลดนานเกินไป ทำให้หนูสามารถเข้ามาได้


การปฏิบัติการแก้ไขทันที : จับหนู หรือหาหนูให้เจอ แล้วนำออกจากพื้นที่คลังสินค้าสำเร็จรูป 

 

การป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ : ติดม่านพลาสติก ป้องกันอีก 1 ชั้น  และทำแผนเป็นประตู  2 ชั้น   เพิ่มจุด ดักหนู หรือ พิจารณามาตรการป้องกันอื่นๆ กับบริษัทกำจัดสัตว์พาหะ

Auditee ผู้ถูกตรวจ : วันที่ :
ส่วนที่ 3 สำหรับผู้ตรวจ (Auditor) :

การทวนสอบหลักฐานของเอกสาร เช่น แผนการแก้ไขจากผู้ตรวจ ตัวอย่างแบบฟอร์มที่ออกแบบระบบใหม่  ภาพถ่าย ก่อน/หลังดำเนินการ  บันทึกการฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้อง ผลการตรวจสินค้าสำเร็จรูป 

ผู้ทวนสอบ  : วันที่  :
ส่วนที่ 4 สำหรับผู้ตรวจ (Auditor) :
ประสิทธิผลที่ได้จากการดำเนินการเพื่อแก้ไขประเด็นความไม่สอดคล้อง จากส่วนที่ 2 ผู้ถูกตรวจ (Auditee): เช่น ดูแนวโน้มข้อร้องเรียนลดลง มีการติดตามดูประเด็นดังกล่าวเป็นระยะเวลา อาจจะ 6 เดือน หรือ 1 ปีแล้วไม่พบการเกิดซ้ำของประเด็นดังกล่าว 
Auditor ผู้ตรวจ: วันที่:

หากผู้ตรวจติดตามภายในพบว่ามีประเด็นเยอะ ที่ต้องปรับปรุง ก็ให้พิจารณาออกใบ CAR ในส่วนที่มีความสำคัญ เช่นสินค้าจะมีความเสียหายเยอะ ลูกค้าจะร้องเรียน ผิดกฎหมาย หรือผิดข้อกำหนดมาตรฐานที่ องค์กรตรวจรับรอง อยู่ นั้นคือทีมต้องออกใบ CAR ส่วนเรื่องอื่นๆ ทีมยังมีเวลาตรวจในรอบหน้า  เพื่อให้การทำงานตรวจติดตามภายในเป็นงานที่มีบรรยากาศของคำว่าเพื่อการปรับปรุงระบบอย่างแท้จริง