การจัดทำทะเบียนและการประเมินความสอดคล้อง ตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมของมาตรฐาน 14001

reader 1455 Views

สำหรับกระบวนการทำงานนี้ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน Iso14001 ที่สำคัญ องค์กรจะมั่นใจได้ว่า กิจกรรมขององค์กร นั้นสอดคล้องตามข้อกำหนดกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมหรือ ไม่ ก็ต้องทำเรื่องนี้ให้ครบถ้วน

 

  1. ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข้อนี้ คือ

คำว่า“พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม” เป็นคำที่มาแทนคำว่า “ข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่องค์กรมีการลงนามไว้” ที่ใช้ในมาตรฐานสากลฉบับก่อนหน้านี้ จุดประสงค์ของคำใหม่นี้ไม่แตกต่าง ISO14001 ฉบับก่อนหน้านี้

คำศัพท์และนิยามที่  3.2.9 พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม (Compliance obligations (preferred term)) คือ กฎหมาย หรือ ข้อกำหนดอื่นๆ (บังคับถือปฏิบัติ) ข้อกำหนดที่ซึ่งองค์กรต้องกระทำให้สอดคล้อง และ ข้อกำหนดอื่นๆ ที่องค์กรต้องหรือเลือกที่จะปฏิบัติให้สอดคล้อง

หมายเหตุ 1 : พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามเกี่ยวข้องกับระบบการบริหารสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ 2 : พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม สามารถมาจากข้อกำหนดภาคบังคับและมาตรฐานอุตสาหกรรม, การเกี่ยวพันธ์สัญญาว่าจ้าง, แนวปฏิบัติ และ ข้อตกลงกับกลุ่มชุมชนหรือองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ

องค์กรจะต้องกำหนด พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในระดับที่มีรายละเอียดเพียงพอ ที่มีการชี้บ่งใน 4.2 ความเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย  ที่นำไปใช้กับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental Aspect ) และวิธีนำไปใช้กับองค์กรพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม รวมถึงกฎหมายที่และข้อกำหนดอื่นๆที่องค์กรจะต้องปฏิบัติตามหรือเลือกที่จะปฏิบัติตาม

กฎหมายบังคับที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรอาจรวมถึงถ้า กรณีเกี่ยวข้อง:

  1. a) ข้อกำหนดจากหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. b) กฎหมายและข้อบังคับระหว่างประเทศ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
  3. c) ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ใบอนุญาตหรือการอนุญาตในรูปแบบอื่น ๆ
  4. d) คำสั่ง กฎ หรือคำแนะนำจากหน่วยงานกำกับดูแล
  5. e) คำพิพากษาของศาลหรือศาลปกครอง

พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ยังรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

ระบบการจัดการที่องค์กรต้องมีหรือเลือกที่จะนำมาใช้ สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึง (ถ้ามี)

— ข้อตกลงกับกลุ่มชุมชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชน

— ข้อตกลงกับหน่วยงานสาธารณะหรือลูกค้า

— ข้อกำหนดขององค์กร

— หลักการหรือหลักปฏิบัติโดยสมัครใจ

— การติดฉลากโดยสมัครใจหรือข้อผูกพันด้านสิ่งแวดล้อม

— ภาระผูกพันที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงตามสัญญากับองค์กร

— มาตรฐานองค์กรหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

 

  1. จากนั้นก็มาทำความเข้าใจกับข้อกำหนดแต่ละข้อของ ISO14001 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำทะเบียนและการประเมินความสอดคล้อง ตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อกำหนดที่  6.1.3 พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม

องค์กรต้อง

  1. a) พิจารณากำหนดและเข้าถึงพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
  2. b) พิจารณากำหนดวิธีการในการประยุกต์ใช้พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามกับองค์กร
  3. c) นำเอาพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามไปเมื่อจัดทำ นำไปปฏิบัติ ธำรงรักษา และ ปรับปรุงระบบการบริหารสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

องค์กรต้องธำรงรักษาเอกสารสารสนเทศซึ่งพันธสัญญาที่ต้องปฏิบัติตาม

หมายเหตุ พันธสัญญาที่ต้องปฏิบัติตามสามารถส่งผลต่อความเสี่ยงและโอกาสขององค์กร

 

 ข้อกำหนดที่  9.1.2 การประเมินการสอดคล้อง

องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษา กระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อประเมินการบรรลุผลตามพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม

องค์กรต้อง:

  1. a) พิจารณากำหนดความถี่ที่ใช้ในการประเมินการสอดคล้อง
  2. b) ประเมินการสอดคล้องและดำเนินกิจกรรม ถ้าจำเป็น
  3. c) ธำรงรักษาความรู้และความเข้าใจในสถานะการสอดคล้อง

 

องค์กรต้องเก็บรักษาเอกสารสารสนเทศเพื่อเป็นหลักฐาน ของ ผลการประเมินความสอดคล้อง

 

  1. สุดท้ายมาดูแนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนด
    • กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกฎหมายและข้อกำหนดนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสิ่งแวดล้อมขององค์กร เกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมขององค์กร  เช่น องค์มีการปล่อยน้ำเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านนี้คือ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม     กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น หรือ โรงงานตั้งอยู่ในการนิคมก็ต้อง ดูที่ข้อกำหนดเรื่องน้ำเสียของการนิคม
    • ดำเนินการจัดทำทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมขององค์กร
    • กำหนดรอบในการทบทวน/ติดตาม กฎหมาย เพื่อให้ทันกับการประกาศกฎหมายใหม่ หรือ สมัครเป็นสมาชิกแหล่งที่มีการรวบรวมกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
    • เขียน ขั้นตอนในการทำงาน กำหนดว่ากฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ติดตามและการประเมินความสอดคล้อง การดำเนินการเมื่อมีกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับองค์กร  จัดทำแบบฟอร์มเพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานตามข้อ กำหนด 6.1.3 และ  1.2
    • กำหนดแผนการทวนสอบ/การตรวจวัดค่าด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ เช่น การตรวจค่าน้ำทิ้งประจำปี การตรวจปล่องของหม้อต้มไปน้ำ โดยความถี่นั้นยึดตามข้อกำหนดและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเรื่องนั้นๆ

      ข้อมูลอ้างอิง http://hawk.diw.go.th/eis/

    • ดำเนินการตรวจวัด วิเคราะห์ ทดสอบค่าต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
    • การดำเนินการกับผลการตรวจวัดค่าต่างๆ ตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร เมื่อผลจากข้อ 3.5 ไม่ได้ตามกฎหมายกำหนดและข้อกำหนดอื่น

 

ตัวอย่างหน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

https://www.mnre.go.th/th/information/list/1960

การจัดการน้ำเสีย
มลพิษอากาศ
เสียงรบกวน
กลิ่น
กระทรวงอุตสาหกรรม
http://law.industry.go.th/laws
การจัดการน้ำเสีย
การจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ใช้แล้ว
มลพิษทางอากาศ
สารเคมีและวัตถุอันตราย
กระทรวงสาธารณสุข
https://laws.anamai.moph.go.th/th/doh-annuance
การจัดการมูลฝอย
เหตุรำคาญ
กระทรวงแรงงาน
https://www.mol.go.th/laws
การจัดการด้านอาชีวอนามัย
การจัดการสารเคมี
การทำงานในที่อับอากาศ
การทำงานเกี่ยวกับรังสี
การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
https://www.ieat.go.th/th/environment-and-occupational-health
การจัดการน้ำเสีย
การจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ใช้แล้ว
มลพิษอากาศ
สารเคมีและวัตถุอันตราย
การจัดการด้านความปลอดภัย

ตัวอย่างการจัดทำทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม