ถ้าจะตรวจรับรองมาตรฐาน FSSC22000 มีข้อกำหนดอะไรบ้าง ที่ต้องประยุกต์ใช้ ?

reader 2907 Views

ประวัติและความเป็นมาของมาตรฐาน ?

  • ตั้งแต่ปี 2552 มูลนิธิ FSSC ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ในการประยุกต์ระบบการจัดการอาหารปลอดภัยซึ่งสอดคล้องกับ การจัดการแบบ ISO และโครงสร้างที่กลมกลืนกันกับ ISO
  • ปัจจุบันนี้ มูลนิธิ FSSC มีตัวแทนประจำอยู่ที่ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ อินเดีย ญี่ปุ่น ตุรกี ตะวันออกกลางและ จีน
  • การทำงานของ FSSC นั้นเป็นผู้ให้การรับรองหน่วยงานที่ตรวจรับรองระบบ (CB) โดยครอบคลุมห่วงโซ่อาหารทั้งหมด จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร
  • สำหรับมาตรฐาน FSSC22000 นั้นเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ได้รับการบรรจุอยู่ใน GFSI โดยล่าสุดของการปรับปรุงเวอร์ชั่นของมาตรฐานล่าสุดคือ เวอร์ชั่น 6 เมื่อเดือนเมษายน 2566   ซึ่งจะมีผลบังคับให้มีการปรับเปลี่ยนใน เดือนเมษายน  2567

 ตรวจรับรองมาตรฐาน FSSC22000 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?

  • เนื่องจากปัจจุบันนี้มาตรฐานที่ถูกบรรจุอยู่ใน GFSI จะต้องมีโปรโตคอลที่บังคับให้ บริษัทที่ตรวจรับรองมาตรฐานดังกล่าวต้องถูกตรวจแบบไม่แจ้งล่วงหน้า (un- announce audit ) ดังนั้น มาตรฐาน FSSC22000 ก็เช่นกัน ในรอบการรับรอง 3 ปี จะต้องมีอย่างน้อย 1 ปีได้รับการตรวจแบบ ไม่แจ้งล่วงหน้า (un- announce audit ) ดังนั้นบริษัท ที่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐาน FSSC22000 นั้นต้องออกแบบระบบ ประยุกต์ใช้ และรักษาระบบแบบเป็นชีวิตประจำวันนั้นเอง

ถ้าจะตรวจรับรองมาตรฐาน FSSC22000  มีข้อกำหนดอะไรบ้าง ที่ต้องประยุกต์ใช้  ?

  • โครงสร้างของมาตรฐาน FSSC22000 นั้นประกอบไปด้วย 3 ส่วนตามภาพด้านล่าง

ส่วนที่  1)  คือระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัย ISO22000 : 2018 เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ผ่านสมรรถนะของ โปรแกรมพื้นฐาน PRPs  หรือที่คุ้นเคยเรียกว่า GHPs  มาตรฐาน HACCP  โดยจะมีการเพิ่มการติดตาม มาตรการควบคุมแบบ OPRPs ซึ่งเดิมจะมีเพียง CCP นั้นเอง

ส่วนที่  2)  โปรแกรมพื้นฐาน (PRPs) เป็นกลุ่มมาตรฐานที่ขึ้นต้นด้วย ISO/TS22002-X หรือ PAS- XX ซึ่งจะมีความเฉพาะแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้ห่วงโว่อาหาร  เช่น ถ้าเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารจะเป็น ISO/TS22002-1 : 2019 , ISO/TS22000-4:2013   สำหรับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น  โปรแกรมพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในแต่ละประเภทของกระบวนการผลิตอาหาร เช่น การคัดเลือกและประเมินผู้ขาย การควบคุมสารก่อภูมิแพ้  การป้องกันการก่อการร้าย  เป็นต้น

ส่วนที่  3) ข้อกำหนดส่วนเพิ่ม ที่ FSSC มีการเขียนเพิ่มจากส่วนที่  1 และ  2 เพื่อให้เติมเต็มในระบบการจัดการให้อาหารปลอดภัยนั้นเอง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการห้องปฏิบัติการด้านทดสอบเชื้อโรค  งานบริการสอบเทียบ   การควบคุมคุณภาพ  งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์  การตรวจติดตามภายในสำหรับธุรกิจที่มีสาขา

 

FSSC22000 เวอร์ชั่น 6 มีอะไรปรับเปลี่ยนบ้าง ?

จากที่มีการประกาศปรับ FSSC22000 เป็น เวอร์ชั่น 6 เมื่อเดือนเมษายน 2566 นั้น โดยหลักๆ ส่วนของข้อกำหนดที่ปรับเปลี่ยนนั้นเป็นส่วนของ ที่ 3 ซึ่งก็คือ  ข้อกำหนดส่วนเพิ่มนั้นเอง เพื่อเติมเต็มตาม GFSI และการปรับปรุงข้อกำหนด โดย FSSC เอง

สำหรับท่านที่ตรวจรับรอง FSSC22000 ต้องมีการตรวจเพื่อปรับเป็นเวอร์ชั่น  6 ใน 1 เมษายน 2567  เพื่อให้ท่านที่ตรวจประเมิน FSSC 22000 อยู่แล้วนั้น ได้มีการ check ตัวเองว่าพร้อมแล้วสำหรับการปรับเวอร์ชั่นในครั้งนี้  สามารถ Download เอกสาร EQA Internal audit Checklist additional requirement FSSC22000 v 6.0  

=>    Download เอกสารได้ที่นี่