เครื่องมือวัด ตอนที่ 4

reader 16012 Views

สวัสดีครับ ในตอนนี้เรา จะนำความรู้ที่ได้จากตอนที่ 1-3 มาประยุกต์ใช้กับระบบ ISO9001:2015 การควบคุมเครื่องมือวันนี้ จะอยู่ที่ข้อกำหนด ISO9001:2015 ข้อ “7.1.5 Monitoring and measuring resources (ทรัพยากรเพื่อการเฝ้าะวังและติดตาม)” ซึ่งเราต้องกำหนดกระบวนการในการ ควบคุมเครื่องมือวัด

  1. การขอใช้เครื่องมือวัด (การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับค่าที่กระบวนการต้องการ)
  2. การสร้างบัญชีควบคุมเครื่องมือวัด
  3. การคัดเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด
  4. การสอบเทียบเครื่องมือวัด (สำหรับผู้ที่มี ห้องสอบเทียบเครื่องมือวัดในองค์กร)
  5. การทวนสอบเครื่องมือวัดที่ สอบเทียบมาแล้ว
  6. การทวนสอบเครื่องมือวัดระหว่างรอบการใช้งาน
  7. การสอบกลับได้ของเครื่องมือวัด และการวัดของกระบวนการผลิต

การขอใช้เครื่องมือวัด

ทำไมเราต้องมีการขอใช้เครื่องมือวัด?

คำตอบคือ เราต้องเลือกเครื่องมือวัด ให้สอดคล้องกับ ค่า Tolerance ของการวัดในกระบวนการผลิต และกำหนด เป็น Acceptance accuracy (ค่าความถูกต้องของเครื่องมือวัดที่ยอมรับได้) และ Working range (ช่วงที่ใช้งาน) ซึ่งเราจะต้อง ประมาณค่า Acceptance accuracy จาก ค่า Resolution ของเครื่องมือวัด และ ค่า Uncertainty ของห้องสอบเทียบ (ถ้าเป็น ห้องสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง มาตรฐาน มอก. 17025 เราสามารถสืบค้น ได้จาก www.tisi.go.th ตามชื่อของห้องสอบเทียบที่เราจะใช้บริการ) เมื่อได้ข้อมูล Uncertainty แล้วนำมาคำนวณ Uncertainty รวม แล้ว ตรวจสอบค่า UCL และ LCL ร่วมกับฝ่ายออกแบบ หรือ ฝ่ายผลิต ว่าสอดคล้องหรือไม่ และยืนยันร่วมกัน

กำหนดผู้ใช้งาน หรือหน่วยงาน เพื่อการสอบกลับ และสะดวกต่อการเรียกเครื่องมือนั้น กลับมาทำการสอบเทียบเมื่อถึงเวลาสอบเทียบตามรอบ

การสร้างบัญชีควบคุมเครื่องมือวัด

ประโยชน์ของการสร้างบัญชีเครื่องมือวัด จะทำให้เราสามารถ รู้ปริมาณการใช้เครื่องมือวัดในองค์กร ผู้ครอบครองเครื่องมือวัด รอบการสอบเทียบ และนำมาวางแผน การสอบเทียบ เพื่อสอดคล้องกับแผนการผลิต แผนการเงิน และลดปัญหาความขัดแย้ง เมื่อฝ่ายผลิตต้องการใช้เครื่องมือวัด แต่เครื่องมือวัด ต้องไปสอบเทียบ

โดยทั่วไป เราสามารถทำการทวนสอบเครื่องมือวัดที่สอบเทียบ มาแล้วและบันทึกใน บัญชีรายชื่อ เมื่อเครื่องมือวัดนั้นๆ ไม่ซับซ้อน ในการทวนสอบ หรือ มีผู้ทวนสอบ 1-2 คน แต่ถ้าเครื่องมือที่ใช้มีความซับซ้อนในการทวนสอบมาก เราจำเป็นจะต้องสร้าง Check list สำหรับการทวนสอบค่าสอบเทียบ เครื่องมือวัด เพื่อสร้างความเชื่อมันต่อระบบบริหารคุณภาพ

การคัดเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบ โดยทั่วไปถ้าสามารถเลือก ห้องสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง มอก. 17025 ก็จะมั่นใจได้ โดยพิจารณาเพิ่ม ในส่วนของ รายการสอบเทียบ และ ขีดความสามารถของการสอบเทียบ ให้สอดคล้องกับเครื่องมือวัดที่เราจะส่งไปสอบเทียบ

โดยเราอาจเพิ่ม ขั้นตอนการคัดเลือกนี้ ระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงาน จัดซื้อจัดจ้างและ ขอเอกสารใบรับรอง มอก. 17025 เพื่อเป็นหลักฐาน และ ทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยทำการประเมิน ประสิทธิภาพในการให้บริการ แบบเดียวกับการ ประเมินผู้ขายประจำปี

การสอบเทียบเครื่องมือวัด (สำหรับผู้ที่มี ห้องสอบเทียบเครื่องมือวัดในองค์กร)

การสอบเทียบเครื่องมือวัด ภายในองค์กร จะต้องพิจารณา

  • Reference Standard หรือ Working Standard
  • สถานที่ และ Environment ในการสอบเทียบ
  • ความสามารถของ บุคลากร ผู้สอบเทียบ
  • ความคุ้มค่าในการลงทุน
  • กระบวนการสอบกลับได้ของเครื่องมือวัด ที่ถึง National

การทวนสอบเครื่องมือวัดที่ สอบเทียบมาแล้ว

ในการทวนสอบเครื่องมือวัดหลังการสอบเทียบ เราจะได้รับใบ Calibration Certificate โดยส่วนประกอบหลักๆ ที่ต้องพิจารณาในการทวนสอบ ดังนี้

  1. รายละเอียด ของเครื่องมือที่เราส่งสอบเทียบตรงกันหรือไม่
  2. วันที่สอบเทียบ (Calibration date) เพื่อใช้ในการกำหนด วันที่ในการสอบเทียบครั้งต่อไป (Due date) และ ทำ Tag
  3. ขั้นตอนหรือวิธีการในการสอบเทียบ จะต้องอ้างอิงวิธีการสากล หรือเป็นที่ยอมรับ
  4. Due date ของ Reference Standard จะต้องมากกว่า วันที่สอบเทียบเครื่องมือของเรา (ข้อ 2)
  5. การรายงาน ค่าความเชื่อมั่น ของความไม่แน่นอนของการวัด (Confidential of Uncertainty) เช่น “The Uncertainty are for a confidence probability of approximation 95%”
  6. ตรวจสอบค่าที่สอบเทียบ จะต้องครอบคลุม ค่ามากสุด และน้อยสุด ของ Working Range
  7. ค่า Uncertainty ของแต่ละจุดวัดที่ สอบเทียบมา อ่านรวมกับค่า Correction Value หรือ Deviation Value แบบไม่คิดเครื่องหมาย (Uncertainty + |Correction Value|) ต้องไม่มากกว่า Acceptance accuracy ในจุดนั้นๆ ทั้งนี้ต้องพิจารณาตาม ชนิดของการสอบเทียบ เช่น ทำการทวนสอบ เครื่องชั่งน้ำหนัก จะต้องเอา ค่า Uncertainty + ค่า |Deviation Value| + SD deviation ของการทดสอบตำแหน่งการชั่ง (อาจใช้ วิธี Sum Square จากตอนที่ 3 ได้) เมื่อค่าสอบเทียบสอดคล้องจึงถือว่า ทวนสอบจุนั้นผ่าน และดำเนินการทำจุดต่อไป จนครบ Working Range แล้วลงชื่อผู้ทวนสอบ

* ถ้าค่ามีจำนวนมาก ให้สร้าง Check list และ ใส่สูตรใน Microsoft Excel เพื่อป้องกันความผิดพลาด และ ลงชื่อผู้ทวนสอบ

การสอบกลับได้ของเครื่องมือวัด และการวัดของกระบวนการผลิต

หลักการในการสอบกลับได้ของเครื่องมือวัด เราจะกำหนดให้ ใบบันทึกการผลิต หรือใบรายงานการผลิต ที่ ชี้บ่ง Lot หรือ Batch ของการผลิตนั้นๆ ให้มีช่องสำหรับการใส่ ID เครื่องมือวันที่ใช้ในกระบวนการ

ส่วนการสอบกลับของการสอบเทียบ ก็จะอยู่ในขั้นตอน การทวนสอบ ของเรา

ตัวอย่างเอกสาร ขั้นตอนการควบคุมเครื่องมือ

#ISO9001ทำเองได้, #ISO9001:2015, #Calibation, #Monitoring and Measurement Resource