มาตรฐานการรีไซเคิลทั่วโลก GRS คืออะไร

reader 20784 Views

มาทำความรู้จักกับมาตรฐานรีไซเคิลระดับสากล  Global Recycle Standard (GRS) ?

มาตรฐานการรีไซเคิลระดับสากล Global Recycle Standard (GRS)  ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2551 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยองค์กร Textile Exchange เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ

มาตรฐานการรีไซเคิลระดับสากล Global Recycle Standard (GRS) คือมาตรฐานที่รับรองด้านผลิตภัณฑ์แบบเต็มรูปแบบ โดยการทวนสอบและติดตาม วัสดุที่นำมารีไซเคิล ตลอดห่วงโซ่  ซึ่งรวมทั้งกระบวนการที่กำหนดเกณฑ์ด้านความเสี่ยงในการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย  และทวนสอบการจัดการด้านเชิงบวกของมาตรฐานแรงงานหรือสิ่งแวดล้อม ของแต่ละสถานประกอบการที่ขอการรับรอง  โดยมาตรฐาน GRS นั้นจะใช้การข้อกำหนดห่วงโซ่การคุ้มครอง (Chain of custody) ของมาตรฐาน Content Claim Standard (CCS).

บริษัทที่ผลิตหรือแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ GRS ครอบคลุมการแปรรูปการณ์ผลิตการบรรจุการติดฉลาก และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตด้วยวัสดุรีไซเคิลขั้นต่ำ 20%

จุดเด่นของ GRS มาตรฐานการรีไซเคิลระดับสากลเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยสมัครใจ และมีข้อกำหนด สำหรับการรับรองโดยบุคคลที่สาม

ส่วนประกอบของข้อกำหนดสำหรับมาตรฐาน GRS นั้น ประกอบด้วย  4 ข้อดัง นี้

  • A : ข้อมูลทั่วไป ซึ่งจะประกอบไปด้วย คำจำกัดความต่างๆ ของมาตรฐาน GRS , มาตรฐานที่ GRS ใช้ในการอ้างอิง หลักการของรับรอง GRS การนำวัสดุมารีไซเคิล ข้อกำหนดด้านซัพพลายเชน
  • B : ข้อกำหนดทางด้านสังคม
  • C : ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
  • D : ข้อกำหนดทางด้านแรงงาน

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่  https://textileexchange.org/standards/recycled-claim-standard-global-recycled-standard/

 

จะดูได้อย่างไร  ว่า บริษัทไหนบ้างที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GRS แล้วบ้าง ?

สำหรับบริษัทที่ผ่านการตรวจรับรองแล้วนั้น องค์กร  Textile Exchange  จะรวบรวบรายชื่อไว้ที่ลิงค์

https://textileexchange.org/standards/find-certified-company/grs-certified/

หากท่านกำลังมองหาผู้ขายวัตถุดิบ ที่ผ่านการรับรองระบบ  GRS ก็สามารถหาข้อมูลได้ที่ลิงค์ดังกล่าว

 

หากจะตรวจรับรองระบบมาตรฐาน GRS  ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

เพื่อให้ท่านสามารถประเมินความพร้อมของ ท่าน สามารถใช้รายการเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการรับการตรวจประเมิน GRS ตามรายการด้านล่างนี้ได้

คำถามที่ ข้อกำหนด รายการที่ต้องเตรียม
a1 ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเพื่อให้เข้าใจภาพรวม ขององค์กรภายใต้การขอการรองระบบ GRS ประวัติบริษัท
a2 เอกสารหนังสือรับรองบริษัทฯ สำเนาหนังสือรับรอง
a3 เอกสารใบ รง. สำเนาใบ รง.
a4 ใบอนุญาตทางกฎหมายอื่นๆ : ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า ใบรับรองการจดทะเบียนบริษัท ใบอนุญาต BOI เป็นต้น สำเนาใบอนุญาตอื่นๆ
a5 แผนผังโรงงาน แสดง ภาพรวมภายในบริเวณโรงงาน

คลังสินค้า พื้นที่การผลิต แผนผังเครื่องจักร

ทางอพยพหนีไฟ

จุดวางอุปกรณ์ดับเพลิง

แสดงจุดเก็บ วัตถุดิบสำหรับรีไซเคิล และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จ

แผนผัง – แผนที่โรงงาน โดยรวม แสดงถึงจุดอุปกรณ์ดับเพลิง
a6 คลังสินค้า ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดเก็บ สามารถในการเก็บ ทั้งวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เป็นสินค้าปกติ และผลิตภัณฑ์ GRS เอกสารแสดงพื้นที่จัดเก็บ
a7 ผังองค์กรบริษัทฯ แสดงตำแหน่ง/หน้าที่ สำเนาแผนผังองค์กร
a8 ใบแต่งตั้งตัวแทนผู้บริหารสำหรับ GRS ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดในมาตรฐาน GRS และ CCS – บุคคลที่ได้รับมอบหมายในองค์กร เป็นหนังสือแต่งตั้งหรือ มีบ่งชี้ในแผนผังองค์กร เอกสารแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร
a9 แผนผังของกระบวนการผลิต พร้อมระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ GRS m(ทั้งด้านคุณภาพ  ปริมาณและ ความสมบูรณ์)

 

แผนผังกระบวนการ - การควบคุมกระบวนการวิเคราะความเสี่ยงการปนเปื้อน
a10 รายชื่อผู้รับเหมาช่วง (ถ้ามี) ทะเบียนผู้รับเหมาช่วง ถ้ามี
a11 แผนผังของกระบวนการผลิต หากมีผู้รับเหมาให้ดำเนินการระบุในแผนผัง

 

แผนผังกระบวนการ
a12 แผนระบบ GRS ที่กรอกสมบูรณ์แล้ว

การตรวจเช็กรายชื่อสารเคมีต้องห้ามในเว็บไซ้ดของ  ZDHC, REACH

a13 1.    เอกสารขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนต่างๆในการปฏิบัติงาน การผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์รวมถึงผลิตภัณฑ์ GRS

2.    ขั้นตอนสำหรับการระบุชี้บ่งและการจัดแยก ขณะทำการผลิตผลิตภัณฑ์ GRS

3.    ขั้นตอนการระบุและการแยกระหว่างการขนส่งผลิตภัณฑ์ GRS ขณะขนส่ง

4.    ขั้นตอน: การควบคุมเอกสารและการควบคุมบันทึก และระยะเวลาเก็บรักษาเอกสาร GRS

5.    ขั้นตอนการตรวจยาพาหนะก่อนบรรทุกสินค้าเพื่อจัดส่ง การตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ ยานพาหนะบรรทุกสินค้า

6.    ขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ GRS

7.    ขั้นตอนการฝึกอบรม

8.    ขั้นตอนการตรวจติดตามภายใน

เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน

 

 

a14 หากได้รับการรับรองมาก่อน ต้องเตรียมใบรับรองเดิม และรายงานฉบับเดิม สำเนารายงานการตรวจและใบรับรอง
a15 กรณีเคยได้รับการรับรองในมาตรฐานสากล สำเนาใบรับรอง สำเนาใบรับรอง
a16 รายการผลิตภัณฑ์ รีไซเคลิ (ที่จะขาย) พร้อมข้อมูลส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ - ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์
a17 บัญชีรายชื่อซัพพลายเออร์-ผู้ขายวัตถุดิบให้ทางบริษัท เช่น ร้านรับซื้อของเก่า แหล่งขยะเทศบาล เป็นต้น วัตถุดิบ - การรับวัตถุดิบ และรายชื่อ supplier วัตถุดิบ
a18 กรณีองค์กรเป็นจุดรับขยะ และ/หรือไปเก็บขยะมาเอง- รายชื่อ/สถานที่ๆไปเก็บขยะ

กรณีไปรับมาจากผู้รับซื้อหรือจุดรวบรวมให้จัดทำรายชื่อและขอสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการมาด้วย

วัตถุดิบ
a19 เอกสารชี้แจงรายการที่เป็นวัตถุดิบรีไซเคิล จากผู้ขายวัตถุดิบ วัตถุดิบ – เอกสารการชี้แจงจากผู้ขาย
a20 ข้อตกลง ที่แสดงว่าผู้ขาย ยินดีให้หน่วยรับรอง ไปตรวจเยี่ยมที่สถานที่ โดยมีการกำหนดนัดหมาย  (หากเป็นหน่วยงานรัฐบาล ไม่ต้องใช้เอกสารนี้) เอกสารการแสดงความจำนงค์ของผู้ขาย
a21 กรณีวัตถุดิบเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตของตนเองหรือของหน่วยผลิตอื่นๆ ให้ใช้เอกสารแสดงการนำกลับมาใช้ของวัตถุดังกล่าว ตามข้อ 4.1 C เพื่อบอกที่มาของวัตถุดิบ เอกสารชี้แจงที่มาวัตถุดิบ
a22 บันทึกการซื้อวัตถุดิบที่นำมารีไซเคิล บันทึกวัตถุดิบที่นำมาใช้
a23 เอกสารแสดงการ นำสำหรับวัสดุทุกชนิด ที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิต เอกสารแสดงการนำวัตถุดิบ
a24 กรณีที่ซื้อวัตถุดิบเพื่อมารีไซเคิลจากผู้ขายที่ได้รับการรับรองระบบ GRS แล้ว ให้ดำเนินการขอเลข  TC จาก ผู้ขาย หมายเลข TC จากผู้ขาย
a25 สต๊อกวัตถุดิบคงคลัง  ทั้ง non-GRS and GRS สต๊อก
a26 สต๊อกสินค้าคงคลัง  non-GRS and GRS สต๊อก
a27 บันทึกการเบิกวัตถุดิบทั้งหมดเพื่อเข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิล วัตถุดิบ – ตัวอย่างรับสินค้า จัดเก็บ ผลิต รอ ส่งออกใ
a28 ระบบการบ่งชี้ สินค้าที่ถูกรับรอง GRS เริ่มตั้งแต่ การรับวัตถุดิบ การจัดเก็บ กระบวนการผลิต การจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิต และการจัดส่ง // เอกสาร โค้ด และอื่นๆ ระบบการชี้บ่ง
a29 เอกสารที่แสดง อัตราการสูญเสียจากการผลิต (การสูญเสีย%) หรือ ประสิทธิภาพการผลิต

มีความแตกต่างระหว่างการผลิตสินค้าปกติ และสินค้าจากวัตถุดิบรีไซเคิล

เอกสารผลิตภัณฑ์
a30 ระบบเอกสารและบันทึกเพื่อแสดงการทำ mass balance MB
a31 เอกสารเกี่ยวกับการฝึกอบรมพนักงงานเรื่อง มาตรฐานรีไซเคิล GRS บันทึกฝึกอบรม
a32 เอกสารเกี่ยวกับการซื้อ วัตถุดิบรีไซเคิล ที่นำมาช้ในกระบวนการผลิตสินค้า GRS เอกสารการซื้อวัตถุดิบรีไซเคิล
a33 เอกสารเกี่ยวกับการขาย  เริ่มตั้งแต่ ใบสั่งซื้อลูกค้า อินวอยส์ขาย การเบิกออกจากสต๊อก เอกสารการจัดส่ง เอกสารเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์ GRS
ผลการทดสอบ-วิเคราะห์ 
a34 รายงานการทดสอบคุณภาพทางเทคนิค (หากมี) ผลทดสอบ
a35 ผลวิเคราะห์น้ำดื่ม ผลวิเคราะห์
การจัดการแรงงาน 
b1 นโยบาย: แรงงานเด็ก การบังคับใช้แรงงาน เรียกเงินประกันจากแรงงาน แรงงานกักขัง การห้ามออกจากงาน อิสระในการเข้าร่วมสมาคม และการเจรจาต่อรอง อาชีวอนามัยและและความปลอดภัย การกดขี่

ขั้นตอนการร้องทุกข์ ขั้นตอนการลงโทษ การข่มเหงและรังแก ชั่วโมงการทำงาน คู่มือพนักงานตามกฎหมายแรงงาน

นโยบาย
b2 เอกสารการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร ด้านสังคมแรงงาน ประกาศแต่งตั้ง
b3 เอกสารการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกาศแต่งตั้ง
b4 บันทึกการฝึกอบรม หรือขั้นตอน / วิธีการสื่อสารให้พนักงานทราบเรื่องนโยบายทางสังคมแรงงานของบริษัท บันทึกฝึกอบรม - ประกาศต่างๆให้กับพนักงาน
b5 เอกสารแสดงเจตนาการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสังคมแรงงานตามมาตรฐาน GRS ที่ลงนามโดยผู้บริหาร ประกาศ- นโยบายแรงงานตามระบบ GRS
b6 ทะเบียนพนักงาน แสดงชื่อ-สกุล วันเกิด วันที่เริ่มงาน ตำแหน่งงาน เพศ เอกสาร
b7 แฟ้มประวัติพนักงงาน -
b8 กรณีจ้างงานผ่านบริษัทจัดหาแรงงาน – เอกสารสัญญา ฝ/แฟ้มพนักงานที่ขึ้นอยู่กับเอเย่น ผู้รับจ้างช่วง
b9 บันทึกการจ่ายค่าแรง บันทึก
b10 เอกสารประกาศรับสมัครงาน เอกสารประกาศรับสมัครงาน
b11 แบบฟอร์มและสัญญาจ้างงาน บันทึก
b12 บันทึกการเข้า/ออกงานและชั่วโมงทำงาน และการทำงานล่วงเวลา บันทึก
b13 ประกาศแต่งตั้งตัวแทนลูกจ้าง เอกสาร
b14 คู่มือพนักงาน การทำงาน ที่บอกข้อกำหนดและสิทธิต่างๆในการทำงานกับองค์กร แจกจ่ายให้กับพนักงาน รายละเอียด ค่าจ้าง กำหนดการจ่ายค่าจ้าง เอกสาร
b15 บันทึกการฝึกอบรม เรื่องสิทธิทางแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ บันทึกฝึกอบรม
การจัดการสิ่งแวดล้อม 
c1 คู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อม คู่มือระบบการจัดกการด้านสิ่งแวดล้อม
c2 แต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม เอกสารการแต่งตั้ง
c3 การฝึกอบรม : การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาชีวะอนามัยและความปลอดภัย การซ้อมดับเพลิง การซ้อมหนีไฟ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร การจัดการกับสารเคมี หลักฐานการฝึกอบรม
c4 ใบอนุญาตต่างๆที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและผลกระทบ (ถ้ามี) ใบอนุญาต
c5 ขั้นตอนการฝึกอบรมและบันทึกเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมและบันทึกเรื่องเกี่ยวกับการประหยัดน้ำ การใช้สารเคมีแต่น้อย  และการจัดการขยะ ของเสียต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง ขั้นตอน

บันทึก

ฝึกอบรม

c6 ขั้นตอนการรับมือในกรณีที่อุบัติการณ์เกี่ยวกับขยะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอน
c7 การจัดเก็บบันทึกการใช้พลังงาน การใช้น้ำ ประจำเดือน บันทึก
c8 เป้าหมายการลดการใช้พลังงานและน้ำ เอกสารและแผนดำเนินการ
c9 รายงานการตรวจสิ่งแวดล้อมโรงงานประจำปี   (โรงบำบัดน้ำทิ้ง , การแพร่กระจายในอากาศ เสียง เสียงรบกวน อุณหภูมิ ความชื้น) บันทึก
c10 แผนการปรับปรุงปรุงด้านสิ่งแวดล้อม แผนการดำเนินงาน
c11 วิธีการ / ช่องทางการหาข้อมูล การติดตาม ข้อกำหนด กฎหมาย  แหล่งในการหาข้อมูลเพื่อสนับสนันองค์กรให้ได้รับข้อมูลทันสมัย เอกสารขั้นตอนการอัปเดต กฎหมาย
c12 รายการขยะของเสีย และปริมาณในการกำจัด  บันทึกการกำจัดขยะ

ประเภทขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิต

การจัดการและการเก็บขยะทิ้งทั้งโดยผู้มารับหรือเทศบาล – ผู้ให้บริการคือใคร

เอกสารการนำออกจากโรงงาน สัญญากับผู้รับขยะ

บันทึกและเอกสารบริษัทกำจัดขยะ
c13 บันทึกการกำจัดการตะกอน (ถ้ามี) – บริษัทผู้ให้บริการ และเอกสารการนำออกจากโรงงาน บันทึก
การใช้พลังงาน
c14 วิธีการ / ช่องทางการหาข้อมูล การติดตาม กฎหมายเรื่องการใช้พลังงาน เอกสารขั้นตอนการอัปเดต กฎหมาย
c15 การจัดทำเป้าหมายการลดการใช้พลังงาน ที่สามารถปรับปรุงได้และทบทวนทุกๆปี เอกสารและแผนดำเนินการ
c16 การวัดและบันทึกการใช้พลังงาน แต่ละชนิด รายเดือนและสรุปต่อปี

 

บันทึกการใช้พลังงาน
การใช้น้ำ
c17 วิธีการ / ช่องทางการหาข้อมูล การติดตาม กฎหมายเรื่องการใช้น้ำ เอกสารขั้นตอนการอัปเดต กฎหมาย
c18 การจัดทำเป้าหมายการลดการใช้น้ำ ที่สามารถปรับปรุงได้และทบทวนทุกๆปี เอกสารและแผนดำเนินการ
น้ำเสีย
c19 องค์กรต้อง ติดตามและบันทึกให้ค่าต่างๆ ของน้ำเสีย ให้สอดคล้องกับข้อกำหนด GRS  และกฎหมาย บันทึก
c20 ผังการไหลของน้ำเสีย ทิศทางการไหล และจุดน้ำทิ้ง เอกสาร
c21 สำหรับ ส่วนการผลิตที่มีการใช้น้ำใน การผลิต ผลวิเคราะห์น้ำที่บำบัดแล้วก่อนปล่อยสู่ลำรางสาธารณะ ต้องสอดคล้องกับ พารามิเตอร์ที่ต้องวิเคราะห์ GRS  ภาคผนวก D

รายงานต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือนและครอบคลุมทุกๆพารามิเตอร์ใน ภาคผนวก D. เก็บตัวอย่างโดยผู้มีคุณสมบัติและอุปกรณ์ที่เหมาะสม

ผลวิเคราะห์น้ำเสีย
c22 ระบบ / เอกสาร ที่แสดงวิธีการจัดการและระบบบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมก่อนปล่อยสู่ลำรางสาธารณะ เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน
c23 หากส่งน้ำเสียบำบัดโดยหน่วยงานภายนอก ใช้ผลวิเคราะห์จากน้ำที่บำบัดแล้ว ครอบคลุมทุกๆพารามิเตอร์ใน ภาคผนวก D ผลวิเคราะห์น้ำเสียของบริษัทรับจ้างบำบัด
อากาศ
c24 รายงานการตรวจสภาพแวดล้อมของโรงงานเรื่องอากาศ บันทึก
c25 แผนการซ่อมรายการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดสารที่ทำให้เกิดการลดของโอโซน หรือก๊าซเรือนกระจก หรือสารอื่นๆ ที่มีแนวโน้มทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ บันทึกแผนการบำรุงรักษา
c26 การจัดทำเป้าหมายการปรับปรุงคุณภาพอากาศ ที่สามารถปรับปรุงได้และทบทวนทุกๆปี เอกสารและแผนดำเนินการ
การจัดการของเสียและขยะ
c27 ใบอนุญาตนำขยะออกนอกโรงงาน เอกสารใบอนุญาต
c28 ผู้รับจ้างนำขยะออกนอกโรงงาน เอกสาร รง.
c29 รายการขยะอันตราย และบันทึกที่สามารถแสดงปริมาณ บันทึกสารเคมีอันตราย
c30 การฝึกอบรมและบันทึกเรื่องการจัดการขยะอันตราย บันทึกฝึกอบรม
c31 การหาแนวทางการลดขยะและเพิ่มการนำมาใช้ซ้ำหรือการรีไซเคิล เอกสารโครงการ
c32 การจัดทำเป้าหมายการลดปริมาณของเสีย-ขยะ ที่สามารถปรับปรุงได้และทบทวนทุกๆปี เอกสารและแผนดำเนินการ
ระบบการจัดการสารเคมี
d1 วิธีการ / ช่องทางการหาข้อมูล การติดตาม กฎหมายเรื่องการจัดการสารเคมี เอกสารขั้นตอนการอัปเดต กฎหมายด้านสารเคมี
d2 หนังสือแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารเรื่องการจัดการสารเคมี เอกสารการแต่งตั้ง
d3 บันทึกการฝึกอบรมพนักงานเรื่องการจัดการสารเคมี บันทึกฝึกอบรม
d4 รายชื่อผู้ขายสารเคมี ชื่อ ที่อยู่ และบุคคลที่ติดต่อ ทะเบียนผู้ขายสารเคมี
d5 รายการสารเคมีทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตภัณฑ์ GRS ทะเบียนสารเคมี
d6 เอกสารกำกับสารเคมี หรือ สารผสม ในพื้นที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ GRS  เป็นภาษาที่พนักงานอ่านได้ อายุไม่เก่าเกิน 3ปี เอกสารด้านความปลอดภัยในการใช้สารเคมี (SDS)
d7 เอกสารแสดงเจตนาการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน GRS ในส่วนข้อกำหนด C 2 เอกสารประกาศเจตนารมณ์

#จาก Equal Assurance Thailand