เตรียมตัวให้พร้อมรับการตรวจใน ประเด็น “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กับมาตรฐาน ISO 9001 อย่างไร ?

reader 6150 Views

จากการที่ ISO ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์จากองค์กรสมาชิก ISO ทั้งหมดในสิ่งที่เรียกว่าปฏิญญาลอนดอน (https://www.iso.org/ClimateAction.html  ) โดยมีมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 เป็น 1 ในมาตรฐานของ ISO ที่เพิ่มเติมข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในข้อกำหนด 4.1 และ 4.2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 นั้น

ข้อกำหนด 4.1 ที่คือ เพิ่ม: องค์กรจะต้องพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็น ที่เกี่ยวข้องหรือไม่

 

องค์กรที่ยังไม่ได้มีการพิจารณาประเด็นภายนอก ในข้อกำหนด 4.1 ความเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร ในด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ว่ามีผลกระทบอะไรกับองค์กร ตามเจตนารมณ์ข้อนี้หรือไม่  คงจะต้องพิจารณาอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะผ่านการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์เช่น SWOT หรือ การประชุมทบทวนฝ่ายบริหารประจำปี ก็ให้ดำเนินการได้เลย

โดยผลจากการพิจารณา อาจจะเป็นได้ทั้งแบบ ไม่มีผลกระทบ ซึ่งองค์กรที่ตรวจรับรองระบบ ISO 9001 ก็ไม่ต้องดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม  แต่หากพิจารณาแล้วเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น

  • ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน เช่น สัตว์น้ำทางทะเล อุณหภูมิของมหาสมุทรสูงขึ้น ความเป็นกรดสูงขึ้น สัตว์น้ำอาจย้ายถิ่นฐาน
  • การเกิดพายุ หรือ อุทกภัย ทำให้ วัตถุดิบบางอย่าง อาจขาดแคลน  เนื่องจากไม่สามารถ เพาะปลูกได้   หรือ เรือประมงค์ขนาดเล็ก ไม่สามารถออกทำการประมงค์ได้
  • ข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมายประเทศที่บริษัทส่งออก ได้มีการออกกฎหมายบังคับ ในเรื่องของ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร
  • การที่อุณหภูมิ สูงขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อ การทำงาน ที่ต้องมี สภาพแวดล้อมการทำงานที่ค่อนข้างร้อน หรือ ต้องการควบคุมอุณหภูมิ

สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของการประเมินประเด็นภายนอก  ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบ บริหารคุณภาพขององค์กรท่าน

ข้อกำหนด 4.2 เพิ่ม: หมายเหตุ: ผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้อง สามารถมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

การขยายความถึง ความต้องจำเป็นและความคาดหวังของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ ในหมายเหตุ ของข้อกำหนด 4.2 เพื่อให้องค์กรได้ย้อนกลับไปพิจารณา  ว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร มีความข้อกำหนดด้านนี้หรือไม่  เช่น ลูกค้าอยากได้ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กฎหมายภายในประเทศ เพื่อสนับสนุนสหประชาชาติกับ SG 13 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแก้ปัญหาโลกร้อน ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ เนื่องจากอุณหภูมิของโลกจะเกิน 1.5 C ภายในปี 2035 ดังนั้น จึงตั้งเป้า NET ZERO ในปี 2050

 

อ้างอิงจาก https://sdgs.un.org/goals/goal13

 

อาจจะทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย ต้องมีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายดังกล่าว หากทำไม่ได้จะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการระบบ QMS ได้

เมื่อท่านได้พิจารณาทั้ง 2 ข้อกำหนดที่ปรับเพิ่มขั้นแล้ว ก็นำประเด็นต่างๆ  เหล่านั้นมาเทียบกับข้อกำหนดในแต่ละข้อ ว่าข้อใดบ้างที่องค์กรต้องดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว  เช่น

4.3 จำเป็นต้องเพิ่มขอบข่ายการขอการรับรองหรือไม่ เช่น จากเดิม ไม่มีออกแบบผลิตภัณฑ์  8.3 แต่เมื่อประเมินแล้วต้องประยุกต์ใช้ข้อกำหนดนี้  ก็ต้องสร้างระบบให้เกิดขึ้น

6.1 ทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อ ดำเนินการลดความเสี่ยงที่เหมาะสม  ในระดับองค์กร ในระดับกระบวนการ

  1. 3 หากต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทีม change management ต้องเตรียมอะไรบ้าง กับธุรกิจใหม่นี้

7.1 เรื่องทรัพยากร  ไม่ว่า ต้องมีบุคคลกร ทางด้าน การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   โครงสร้างพื้นฐานเช่น สร้างอาคารใหม่ เครื่องจักรใหม่

8.0 การดำเนินการ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อกำหนดใหม่ ที่ต้องสื่อสารลูกค้า  การกล่าวอ้างต่างๆ การทบทวนข้อตกลง การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดซื้อเพื่อควบคุมการใช้พลังงาน การลดของเสีย รวมทั้งการควบคุมกระบวนการผลิต ระบบชี้บ่งสอบกลับ ในกรณีการผลิตสินค้าที่มีการ claim พิเศษต่าง เช่น Eco-labelled  ความสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ของสินค้า หรือ การนำมา recycle ต่างๆ

9.0  การประเมินสมรรถนะ องค์กรก็ต้องพิจารณา ว่า การดำเนินการตาม ประเด็น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   ต้องการเฝ้าระวังติดตาม การวัด การวิเคราะห์ และ การประเมิน อย่างไรบ้าง

 

สำหรับ ผู้ตรวจประเมินภายใน สามารถดู แนวทางการตรวจประเมินของ องค์กร ISO เมื่อต้องตรวจ ผู้ตรวจประเมินควรจะพิจารณาอะไรบ้าง ในประเด็น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  สามารถ Download เอกสารดังกล่างได้ที่นี้

>> EQA APG Auditing Climate Change issues FINAL 3-19-2024 Rev 1 <<