เตรียมตัวล่วงหน้ากับ ฉบับร่าง GHP version 5 ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของการผลิตขั้นต้น?
มาทำความเข้าใจกับข้อกำหนดฉบับร่างส่วนแรก คือ วัตถุประสงค์ของการผลิตขั้นต้น ซึ่งส่วนงานที่ต้องศึกษาและเตรียมตัวคือ ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกและประเมินผู้ขาย โดยเมื่อศึกษาข้อกำหนดฉบับร่างนี้และ ก็ทบทวนเกณฑ์การคัดเลือกประเมิน ผู้ขายว่ารายละเอียดครบตามนี้หรือไม่ ?
ฉบับร่าง GHP
(CXC 1-1969, Rev. 5-2020 (New Version) |
Codex GMP
( CAC/RCP 1-1969, Rev.4- 2003) |
ส่วนที่ 2: วัตถุประสงค์ของการผลิตขั้นต้น:
2.1 การควบคุมสภาพแวดล้อม 2.2 สุขลักษณะของการผลิต 2.3 การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ และขนส่ง 2.4 การทำความสะอาด การบำรุงรักษาและสุขลักษณะส่วนบุคคล |
3. การผลิตเบื้องต้น
3.1 สุขลักษณะของสภาพแวดล้อม 3.2 การผลิตอย่างถูกสุขลักษณะของแหล่งอาหาร 3.3 การปฏิบัติต่ออาหาร การเก็บรักษา และการขนส่ง 3.4 การทำความสะอาด การซ่อมบำรุง และสุขอนามัยในการผลิตเบื้องต้น |
ฉบับร่าง GHP version 5 ส่วนที่ 2: วัตถุประสงค์ของการผลิตขั้นต้น:
การผลิตขั้นต้นควรได้รับการจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารปลอดภัย และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้ หากจำเป็น จะต้องครอบคลุม:
- น้ำที่ใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ระบบชลประทานสำหรับเกษตรกรรม กิจกรรมการชะล้าง ฯลฯ
- การหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ที่สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของอาหาร (เช่น สถานที่ผลิตที่มีการปนเปื้อน)
- การควบคุมสิ่งปนเปื้อน สัตว์พาหะนำเชื้อ และโรคของสัตว์ และพืช เท่าที่สามารถปฏิบัติได้ เพื่อลดภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของอาหาร (เช่น การใช้สารกำจัดแมลง และยาสัตว์ที่เหมาะสม)
- การปรับ ในทางปฏิบัติ และมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้มั่นใจว่ามีการผลิตอาหารภายใต้สภาวะที่มีสุขลักษณะที่เหมาะสม (เช่น การทำความสะอาด และบำรุงรักษาอุปกรณ์เก็บเกี่ยว การชะล้าง การปฏิบัติการรีดนมที่มีสุขลักษณะ)
เหตุผล:
เพื่อลดโอกาสในการนำสิ่งปนเปื้อนซึ่งอาจส่งผลเสียต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือความเหมาะสม ของอาหารในการบริโภค ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร
สรุปสิ่งที่เพิ่มเติมจาก Codex GMP ( CAC/RCP 1-1969, Rev.4- 2003)
- สำหรับวัตถุประสงค์นั้น มีการเน้นเพิ่มเติมจากเดิมคือ การจัดการน้ำของแหล่งผลิตขั้นต้น
สิ่งที่ต้องทบทวน : การจัดการด้านน้ำใช้ ของผู้ผลิตต้นน้ำของท่าน มีระบบการจัดการแล้วหรือไม่ เช่น ระบบการกรอง การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพน้ำต่างๆ
- ส่วนที่เป็นเหตุผล ของการดำเนินการตามข้อนี้ คือ ให้มั่นใจว่า อาหารปลอดภัยหรือเหมาะสมต่อการบริโภค ในทุกจุดขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร
สิ่งที่ต้องทบทวน :
- ผู้ผลิตขั้นต้นของท่านมีควบคุมอันตรายต่างๆ อย่างเหมาะสมหรือยัง ? เช่นมีระบบการจัดการ ด้านความปลอดภัย GAP หรือ GHP เพื่อจัดการความเสี่ยงต่างๆ ตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
- กรณีที่ท่าน เป็นห่วงโซ่อุปทานท้ายๆ ก็ให้พิจารณา ว่าแต่ละขั้นตอนมีการควบคุมหรือไม่ เช่น การเพาะปลูก การแปรรูปเบื้องต้น
- เรื่อง 1 การควบคุมสภาพแวดล้อม เป็นการเขียนชัด “ ให้ทำการชี้บ่ง ของแหล่งที่มาที่อาจเกิดการปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อม “ พร้อมกับขยายความ สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ที่อยู่ใกล้กับสถานประกอบการที่ที่ปล่อยสารพิษ หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ ที่สามารถทำให้อาหารปนเปื้อนกลิ่น หรือใกล้แหล่งน้ำที่ปนเปื้อน เช่น การปล่อยน้ำเสียจากอุตสาหกรรม หรือการไหลของน้ำจากพื้นที่เกษตรกรรมที่มีสิ่งปฏิกูล หรือสารเคมีตกค้างสูง
สิ่งที่ต้องทบทวน : ท่านต้องมั่นใจว่า ผู้ผลิตขั้นต้น มีการชี้บ่ง และการกำหนดมาตราการควบคุม ที่อาจเกิดการปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อม ต่อกระบวนการผลิต
- เรื่อง 2 การผลิตที่มีสุขลักษณะ : เหมือนเดิม เป็นการขยายความ จากเดิมว่ามีอะไรบ้าง ของการปนเปื้อนต่างๆ
- เรื่อง 3 Handling, Storage and Transport การดูแล จัดเก็บ และขนส่ง : เหมือนเดิม
- เรื่อง 4 การทำความสะอาด การบำรุงรักษาและสุขลักษณะส่วนบุคคล มีการเพิ่มส่วนขยายของ
- การทำความสะอาด และการบำรุงรักษาดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่กระทบต่อความปลอดภัยของอาหาร (เช่น การทำให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวไม่เป็นแหล่งที่มาของการปนเปื้อน) และ
- มีการคงไว้ซึ่งสุขลักษณะส่วนบุคคลในระดับที่เหมาะสมเพื่อทำให้มั่นใจว่าบุคลากรไม่เป็นแหล่งที่มาของการปนเปื้อน (เช่น จากสิ่งปฏิกูลของมนุษย์)
สิ่งที่ต้องทบทวน : ท่านต้องมั่นใจว่า ผู้ผลิตขั้นต้น มีวัตถุประสงค์ของการ ทำความสะอาด การซ่อมบำรุง ในมุมของความปลอดภัยของอาหาร และสุขลักษณะส่วนบุคคล ในมุมของไม่ทำให้บุคลกร เป็นแหล่งปนเปื้อนต่อผลิตภัณฑ์
GHP #2 โดย #Food #EqualA #Thailand