จากอดีตและปัจจุบัน ผลกระทบจากการใช้พลังงานจาก Fossil fuels เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สจากธรรมชาติ การตัดต้นไม้ในป่า การทำฟาร์มปศุสัตว์ มีส่วนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นประชาคมระหว่างประเทศ จึงตระหนักถึงความจำเป็นในการรักษาอุณหภูมิให้ร้อนต่ำกว่า 2°C และพยายามจำกัดอุณหภูมิไว้ที่ 1.5°C
ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือปรากฏการณ์ ก๊าซเรือนกระจก (GHG) ก๊าซบางชนิดในชั้นบรรยากาศของโลกทำหน้าที่คล้ายแก้วในเรือนกระจก โดยกักความร้อนของดวงอาทิตย์และป้องกันไม่ให้รั่วไหลกลับไปสู่อวกาศและทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องแสดงว่า องค์กรท่านมีส่วนในการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (GHG) เท่าไรบ้าง และจากส่วนไหนของกิจกรรมการผลิต
ในการเริ่มต้นคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) ขององค์กร จึงมีข้อแนะนำดังนี้
- เอกสารและข้อมูลที่ต้องรวบรวมเพื่อใช้ในการประกอบในการคำนวณ ตัวอย่างคร่าวๆดังนี้
- รง.4
- กนอ.03/6
- แผนผังแสดงพื้นที่
- และตำแหน่งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
- ผังองค์กร
- จัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต
- รายการเครื่องจักรที่มี
- รายการสารเคมีที่มีใช้
- จำนวนพนักงาน
- เอกสารที่เกี่ยวกับการนำของเสียออก
- เอกสารด้านการใช้พลังงาน เช่น ค่าน้ำมัน ค่าไฟ
- เมื่อทำการคำนวณ สิ่งที่ ต้องพิจารณาให้สอดคล้อง เป็นหลักยึดตามมาตรฐานคือ
- ความตรงประเด็น เช่น กิจกรรมอะไรของบริษัทที่ท่านจะนับรวมในการคำนวณ ลูกค้าต้องการให้ท่านคำนวณอะไรบ้าง
- ความครบถ้วน ต้องกำหนดขอบเขตที่จะคำนวณ การรวบรวม การปล่อยและการดูดก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
- ความไม่ขัดแย้ง ข้อมูลที่นำมาคำนวณ เมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่ขัดแย้ง สอดคล้องและเทียบเคียงกันได้
- ความถูกต้อง มีค่าของตัวเลขที่ถูกต้อง ตามการ จัดกลุ่ม scope 1 2 3 มีการจัดให้ถูกต้อง ลดความเบี่ยงเบนและ bias ต่างๆ
- ความโปร่งใส พร้อมทำการเปิดเผยข้อมูลของ GHG อย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนำไปใช้ในการตัดสินใจได้
3 หลังจากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนหลักๆ ของการคำนวณดังนี้
- ระบุแหล่งปล่อย GHG (ก๊าซเรือนกระจก1.1 กำหนดขอบเขตขององค์กร ซึ่งเป็นการกำหนดองค์กร จะนับรวมกิจกรรมใดบ้างเป็น เป็นขององค์กร
หลักฐานเช่น
- รง.4
- กนอ.03/6
- แผนผังแสดงพื้นที่
- และตำแหน่งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
- ผังองค์กร1.2 กำหนดชนิด GHG ที่ต้องทำรายงาน
โดยชนิดของ GHG นั้นยึดตาม พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) จำนวน 7 ชนิด ดังนี้
- Carbon dioxide (CO2)
- Methane (CH4)
- Nitrous oxide (N2O)
- Hydrofluorocarbons (HFCs)
- Perflourocarbons ( PFCs)
- Sulphur hexafluoride (SF6)
- Nitrogen trifluoride (NF3)1.3 กำหนดขอบเขตการทำรายงานเป็นการระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม และกำหนดว่าจะนับรวมแหล่งปล่อย GHGs ใดไว้ในรายงาน ในแต่ละ scope
- Scope ที่ 1 กิจกรรม/แหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อย GHG โดยตรง
- Scope ที่ 2 ก่อให้เกิดการปล่อย GHG โดยอ้อมจากการใช้พลังงานที่นำเข้ามาจากหน่วยงานภายนอก
- Scope ที่ 3 ก่อให้เกิดการปล่อย GHG โดยอ้อมอื่น ๆ
- กำหนดแนวทางในการคำนวณ/ประเมิน ซึ่งมีมีแนวทางการดำเนินการ
- จากการตรวจวัด
- จากการคำนวณดุลมวลสารหรือดุลสมการทางเคมี
- จากการประมาณค่า โดยการใช้ค่า Emission Factor
- เก็บรวบรวมข้อมูลและเลือก Emission Factor
- ต้องมีการกำหนดปีฐาน
- เก็บข้อมูลย้อนหลังเป็นเวลา 1 ปี (12 เดือน)
- ทำการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- รวบรวมและแสดงผลในระดับองค์กร
โดยรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เมื่อต้องจัดส่งให้กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ เรียกสั้นๆว่า อบก. ประกอบด้วย 3 ไฟล์ดังนี้1. รายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เป็นไฟล์ .word
2. เอกสารการทวนสอบ เป็นไฟล์ .excel (Verification Sheet)
3. เอกสารนำเสนอเป็นไฟล์ .powerpoint
https://climate.ec.europa.eu/climate-change/causes-climate-change_en
fossil fuel
https://education.nationalgeographic.org/resource/fossil-fuels/