RSPO สำหรับอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร

reader 15018 Views

หลายคนอาจจะสงสัยว่า RSPO คือมาตรฐานอะไร เรามาทำความเข้าใจกันดีกว่า

RSPO ย่อมาจาก Roundtable on Sustainable Palm Oil เป็นมาตรฐานที่จัดตั้งขึ้นเนื่องด้วยต้องการให้มีการผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะป่าไม้ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ เนื่องด้วยมีการทำสวนปาล์มจากการแผ้วถางป่าอย่างผิดกฎหมาย  ซึ่งมาตรฐานนี้จะมีการนำไปประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้ผลิต

ดังนั้นการนำไปใช้ในประเทศไทย แพร่หลายใน วิสาหกิจชุมชน ในภาคใต้ ภาคตะวันออกที่มีการปลูกปาล์มน้ำมัน, โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม, โรงงานแปรรูปอื่น ๆ, รวมไปถึงอุตสาหกรรมปลายทางที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์ม เช่น เนย, หรืออุตสาหกรรม เครื่องสำอาง เป็นต้น

RPSO มีการรับรองแบบไหน? ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร?

Module ที่ใช้ในการตรวจประเมินจะเป็นไปตามการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรที่แตกต่างกัน คือ

Module A – Identity Preserved (IP)

Module B – Segregated (SG)

Module C – Mass Balance (MB)

โดยผู้นำน้ำมันปาล์มที่ผ่านการรับรองจาก RSPO มาใช้สามารถประยุกต์ใช้และขอการรับรอง ตาม Module C ได้

ประโยชน์ที่จะได้จากการทำระบบคือ ส่วนของผู้ปลูกปาล์มจะได้ Credit ซึ่งสามารถขายเป็นเงินได้

            ส่วนของผู้นำไปใช้ในการผลิต สำหรับผลิตภัณฑ์ก็สามารถที่จะกล่าวอ้างในทางการค้าว่าใช้วัตถุดิบที่ได้รับการรับรองจาก RSPO โดยจะประยุกต์ใช้ตามส่วนของ module C – Mass Balance

            ผู้ผลิตอาหารจะสามารถใช้เครื่องหมายการค้าเพื่อประชาสัมพันธ์ ได้ตามเงื่อนไขด้านล่าง

ปริมาณเนื้อมวลขั้นต่ำ

  • ปริมาณน้ำมันปาล์ม RSPO 95% หรือมากกว่าของปริมาณที่ใช้ทั้งหมด
  • กรณีที่มี %ของน้ำมันปาล์มที่ไม่ได้รับรอง RSPO ในผลิตภัณฑ์ ต้องมีการให้เหตุผลและมีแผนการรองรับเพื่อปรับเปลี่ยนให้ใช้น้ำมันปาล์มที่รับรอง RSPO ทั้งหมด

นอกจากนี้ส่วน % ที่ไม่ได้รับการรับรองต้องถูกชดเชยด้วยปริมาณเทียบเท่าจาก RSPO credit

ปริมาณเนื้อมวลขั้นต่ำน้อยกว่า 95% แต่ยังสอดคล้องตามข้อกำหนดด้านล่าง

  • End user เป็นสมาชิก RSPO และได้รับการรับรอง RSPO หรือ retailer ได้สิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้า RSPO
  • ปริมาณน้ำมันปาล์ม RSPO 50% หรือมากกว่าของปริมาณที่ใช้ทั้งหมด

ส่วนที่เหลือของ % น้ำมันปาล์มที่ไม่ได้รับรอง RSPO ในผลิตภัณฑ์มีการชดเชยด้วยปริมาณเทียบเท่าจาก RSPO

สำหรับข้อกำหนดที่นำมาประยุกต์ใช้ในการทำระบบและขอการรับรองประกอบด้วย

  • RSPO Supply Chain Certification Standard 2020 (Updated 1 February 2020)

(https://rspo.org/library/lib_files/preview/1045)

  • RSPO Rule on Communication and Market Claim (Updated January 2019)

(https://rspo.org/news-and-events/announcements/rspo-rules-on-market-communications-and-claims-revised)

 

บริษัทไหนที่กำลังทำระบบ สามารถติดต่อให้ทาง Equal Assurance ของเราทำการฝึกอบรมได้ครับ

และวันนี้เรามีแบบฟอร์มการตรวจประเมินภายใน (RSPO audit check list) มาฝากกันตามรายละเอียดด้านล่างเลยครับ

>> ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการตรวจประเมินภายใน (RSPO audit check list)