ระบบ ISO9001 ทำเองได้
ตอนที่ 3 บทบาท หน้าที่ผู้บริหาร การจัดการความเสี่ยง
ในการจัดการความเสี่ยงและโอกาส นอกจากการวิเคราะห์ประเด็นภายใน/ภายนอก หรือ SWOT แล้ว องค์กรต้องพิจารณากำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงข้อกำหนดและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย ดังตัวอย่าง ด้านล่าง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ข้อกำหนด / ความคาดหวัง |
พนักงานบริษัท | อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอในการทำงาน
ความปลอดภัยในการทำงาน |
ผู้ขาย (Supplier) | Leadtime การสั่งซื้อที่เพียงพอในการผลิต
การจ่ายเงินตรงเวลา |
ลูกค้า | สินค้าคุณภาพดี ส่งมอบตรงตามกำหนด
การบริการที่ดี |
ผู้ถือหุ้น | บริษัทมีการเจริญเติบโต
ผลกำไร |
การจัดการกับความเสี่ยงและโอกาส เราสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะ ขนาดขององค์กร สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ส่วนมากจะมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ดำเนินการภายใต้ระเบียบปฏิบัติมีการประเมินอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ ให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุด
ส่วนองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดกลาง สามารถทำตามกระบวนการที่กำหนดดังตัวอย่างได้ การวิเคราะห์นี้ โดยทั่วไปจะดำเนินการโดยทีมงานผู้บริหารเป็นหลัก
ความคาดหวัง | ประเด็นความเสี่ยง/โอกาส | แนวทางการจัดการ | ผู้รับผิดชอบ | หมายเหตุ | |
จุดอ่อน
- ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต - ทีมงานขาดความชำนาญในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ |
- มีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย
- ทีมงานมีความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย |
- ขาดเงินทุนในการซื้อเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ที่ทันสมัย
- ไม่สามารถพัฒนาทีมงานได้ทันท่วงที หรือขาดผู้ชำนาญการออกแบบ |
- หาพันธมิตรร่วมลงทุน หรือหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
- จัดทำความรู้องค์กร เพื่อสร้างทีมงานที่มีประสบการณ์ หรือสรรหาทีมออกแบบที่มีประสบการณ์ |
ผู้บริหาร
แผนก HR |
|
จุดแข็ง
- มีระบบบริหารงานที่ไม่ซับซ้อน - การตัดสินใจสั่งการที่รวดเร็ว |
- การดำเนินการที่รวดเร็วเหนือกว่าคู่แข่ง | เป็นโอกาสในการออกแบบผลิตภัณฑ์และส่งออกตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่ง | กำหนดขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการอนุมัติที่เรียบง่ายในคู่มือการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ | แผนกออกแบบ | |
โอกาส
- ประชากรไทยมีการเจริญเติบโตสูงขึ้น - ระบบการขนส่งมีความสะดวก |
|||||
อุปสรรค
- มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่รวดเร็ว - คู่แข่งในตลาดที่เป็นผู้ค้ารายใหญ่ |
|||||
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้ขาย (Supplier) - Leadtime การสั่งซื้อที่เพียงพอในการผลิต - การจ่ายเงินตรงเวลา |
- สั่งซื้อตามกำหนด Leadtime supplier
- จ่ายเงิน supplier ได้ตรงตามกำหนด |
- สั่งของเร่งด่วน สั้นกว่า Leadtime supplier
- ไม่สามารถจ่ายเงินได้ตามกำหนด |
- วางแผนการซื้อวัตถุดิบ และส่ง forecast ให้ supplier ล่วงหน้า
- วางแผน cashflow ให้สมดุลกับรายได้ ร่วมกับการเงิน |
- แผนกวางแผน, จัดซื้อ และการเงิน |
|
ลูกค้า
- |
|||||
พนักงานบริษัท
- |
เพื่อเป็นการฝึกลองใส่ข้อมูลในตารางส่วนที่ว่างดูครับ จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ถ้าไม่มั่นใจว่าถูกต้องหรือไม่สามารถส่งคำถามมาทางอีเมล์ หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมไว้ได้ครับ
ส่วนแบบฟอร์มสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กรครับ ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น
ตอนหน้า ตอนที่ 4 เราจะมาต่อในเรื่องของการกำหนดขอบเขตระบบบริหารคุณภาพ และกำหนดกระบวนการที่จำเป็นในองค์กรกันครับ