มาตรฐานเพื่อความยั่งยืน MSC Chain of Custody Standard

reader 13759 Views

มาทำความรู้จักกับมาตรฐานเพื่อความยั่งยืนของสัตว์น้ำทางทะเล ที่ชื่อว่า  Marine Stewardship Council Chain of Custody Standard (MSC CoC)

มาตรฐานห่วงโซ่ของการคุ้มครองของ MSC:  Marine Stewardship Council  MSC Chain of  Custody Standard   คืออะไร ?

เป็นการรับรองห่วงโซ่ของการคุ้มครอง เพื่อเป็นการรับประกันที่เชื่อถือได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย พร้อมฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (MSC Eco Label) โดยมาจากการทำประมงที่ผ่านการรับรอง และสามารถสอบย้อนกลับได้ตลอดห่างโซ่อุปทาน ไปยังแหล่งที่มา ที่ได้รับการรับรอง โดยมีการกำหนด

วิสัยทัศน์  คือท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งมีชีวิต มีการปกป้องดูแลอาหารทะเล เพื่อคนในรุ่นปัจจุบันและอนาคต

พันธกิจ คือ สำหรับผู้ใช้การระบุฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco Label) และ โปรแกรมการรับรองการทำประมง

  • เพื่อร่วมสร้างประโยชน์ ให้กับท้องทะเลทั่วโลก
  • ด้วยการยอมรับและให้การรับรองการทำประมงที่มีความยั่งยืน
  • การโน้มน้าวให้ผู้คนเลือกซื้ออาหารทะเลที่เหมาะสม และทำงานกับภาคีร่วม เพื่อเปลี่ยนตลาดอาหารทะเลให้มีความยั่งยืน

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่   https://www.msc.org/

 

จะดูได้ที่ไหนว่าใคร ผ่านการรับรองบ้าง  ?

หากต้องการ ตรวจสอบว่าผู้ขาย รายใหม่ หรือ รายปัจจุบันว่า ได้รับการรับรองจาก MSC  จริงหรือไม่ สามารถดูข้อมูลได้ที่ได้ที่

สำหรับผู้ทำประมง   https://fisheries.msc.org/en/fisheries/

สำหรับฟาร์ม https://www.asc-aqua.org/find-a-farm/

สำหรับ ผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่าย  https://cert.msc.org/supplierdirectory/VController.aspx?Path=be2ac378-2a36-484c-8016-383699e2e466

 

อยากจะขอการรับรอง ต้องเลือกมาตรฐานฉบับไหนของ MSC มาประยุกต์ใช้ ?

สำหรับการให้การรับรองของมาตรฐานนั้น เป็นเป็น 3 มาตรฐาน ดังนี้

  1. ส่วนต้นน้ำ ( ที่มาของวัตถุดิบ ) เรียกว่า MSC Fisheries Standard

เป็นมาตรวัดด้านความยั่งยืน ของการทำประมงตามธรรมชาติโดยมาตรฐานนี้ เปิดโอกาสให้กับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา  โดยข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ก็จะแบ่งเป็น ด้วยกัน 3 หลักการ

โดยหลักการที่ 1 เพื่อความยั่งยืนของประชากรสัตว์น้ำเป้าหมาย ซึ่งภาพรวมของหลักการนี้

เป็นข้อกำหนด สำหรับการทำประมงต้องกระทำในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดการประมงเกิน (over-fishing) หรือการหมดลงประชากรสัตว์น้ำนั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และสำหรับประชากรสัตว์น้ำเหล่านั้นที่หมดลง การทำประมงจะต้องดำเนินการในลักษณะที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเพื่อให้มีการฟื้นตัวของสัตว์น้ำเป้าหมาย

 แผนภาพแสดงข้อกำหนดของหลักการที่ 1

 

หลักการที่ 2 ด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำการประมง  (Environmental impact of fishing)

เป็นข้อกำหนด การดำเนินทำประมงควร ทำให้มีการบำรุงรักษาโครงสร้าง ผลผลิต การทำงาน และความหลากหลายของระบบนิเวศ (รวมถึงถิ่นที่อยู่และชนิดพันธุ์ที่พึ่งพาอาศัยกันและเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์) ขี้นอยู่กับการทำประมงประเภทนั้นๆ

  แผนภาพแสดงข้อกำหนดของหลักการที่ 2

 

หลักการที่ 3 เพื่อการจัดการประมงที่มีประสิทธิภาพ (Effective management)

เป็นข้อกำหนด สำหรับการทำประมงอยู่ภายใต้ระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพซึ่งเคารพต่อ กฎหมายและมาตรฐานสากล ระดับ ท้องถิ่น ระดับชาติ และ และรวมกรอบของสถาบันและการดำเนินงานที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน

 แผนภาพแสดงข้อกำหนดของหลักการที่ 3

สำหรับรายละเอียดของ ข้อกำหนด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้  https://www.msc.org/for-business/certification-bodies/fisheries-standard-program-documents

  1. ส่วนกลางน้ำและปลายน้ำ MSC Chain of custody Standard

เป็นมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายพร้อมฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (MSC ecolabel) หรือเครื่องหมายการค้าของ MSC นั้นมาจากการทำประมงที่ผ่านการรับรอง และสามารถสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ไปยังแหล่งที่มา ที่ได้รับการรับรอง

องค์กรที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน CoC จะได้รับการตรวจประเมินโดยหน่วยงานรับรองโดยบุคคลที่สาม และจะได้รับการตรวจติดตาม (surveillance audits) เป็นระยะ ตลอดช่วงสามปีของการรับรอง CoC

โดยมาตรฐานนั้นสามารถแบ่งได้เป็น   3 ขอบข่ายดังนี้

  1. ขอบข่ายของมาตรฐานห่วงโซ่การคุ้มครองของ MSC: ฉบับเริ่มต้น

มาตรฐานนี้มีผลใช้กับองค์กรใดก็ตาม ที่มีสถานที่ผลิตเดียว (สถานที่ตั้งทางกายภาพ) ซึ่งจัดการหรือซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ที่รับรอง

มาตรฐานห่วงโซ่การคุ้มครองของ MSC: ฉบับเริ่มต้น (มาตรฐาน CoC ฉบับเริ่มต้น) ยังมีผลใช้กับองค์กรใดก็ตาม ที่มีหลายสถานที่ผลิต ซึ่งจัดการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง แต่ว่าสถานที่ตั้งแต่ละแห่ง มีการตรวจประเมินแยกกันเป็นเอกเทศ ตามมาตรฐาน CoC ฉบับเริ่มต้น

ในกรณีนี้จะมีการออกใบรับรองฉบับเดียว เรียกว่าใบรับรองแบบหลายสถานที่ผลิต (Multi-site certificate) ตัวอย่างขององค์กร ที่อาจได้รับการรับรองตามมาตรฐาน CoC ฉบับเริ่มต้น รวมถึงองค์กรผู้ซื้อขายที่มีสถานที่ผลิตเดียว หรือผู้แปรรูปที่มีโรงงานในหลายที่ผลิต

ข้อกาหนดบางข้อ ของมาตรฐาน CoC ฉบับเริ่มต้น เช่น การจัดซื้อจากผู้ขายที่ผ่านการรับรอง อาจไม่มีผลใช้ ในกรณีที่องค์กร เป็นฟาร์ม หรือผู้ทาประมงทางทะเล

โดยมาตรฐานห่วงโซ่การคุ้มครองของ MSC: ฉบับเริ่มต้น มีส่วนประกอบของมาตรฐานด้วยกัน 5 หลักการ ดังนี้

หลักการที่ 1 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง ถูกซื้อจากผู้ขายที่ผ่านการรับรอง

หลักการที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง สามารถชี้บ่งได้

หลักการที่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง มีการแยกไว้โดยเฉพาะ

หลักการที่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง สามารถสอบย้อนกลับได้ และมีการจดบันทึกปริมาณไว้

หลักการที่ 5 ระบบการจัดการขององค์กรตอบสนองข้อกาหนดของมาตรฐานนี้

5.1 ระบบบริหารการจัดการและการฝึกอบรม

5.2 การรายงานการเปลี่ยนแปลง

5.3 ผู้รับเหมาช่วง การขนส่ง และการรับเหมากระบวนการแปรรูป

5.4 ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน

5.5 คาร้องขอการสอบกลับ และการรับรองห่วงโซ่อุปทาน

5.6 ข้อกาหนดจาเพาะ สาหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การประเมิน

5.7 ข้อกาหนดจาเพาะ เกี่ยวกับแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก

Download Checklist เตรียมความพร้อม ได้ที่นี้

EQA MSC Pre-audit Checklist for MSC Chain of Custody Standard Default Version 5

 

  1. ขอบข่ายของมาตรฐานห่วงโซ่การคุ้มครองของ MSC: ฉบับการรับรองแบบกลุ่ม

มาตรฐานห่วงโซ่การคุ้มครองของ MSC: ฉบับการรับรองแบบกลุ่ม (CoC Group Standard) มีผลใช้กับองค์กร ที่จัดการผลิตภัณฑ์ที่รับรอง ในหลายสถานที่ผลิต โดยแต่ละสถานที่ผลิต ไม่มีการตรวจประเมินเป็นเอกเทศ

โดยหน่วยงานผู้ตรวจประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐาน (Conformity Assessment Body - CAB) ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการรับรองหลายสถานที่ผลิต (Multi-site certificate)

สาหรับองค์กร ที่มีหลายสถานที่ผลิต หรือกลุ่มขององค์กรที่รวมตัวกัน องค์กรจะกาหนดหน้าที่การทางาน ของสานักงานกลาง ซึ่งกาหนดระบบควบคุมภายใน และรับผิดชอบในการรับประกันว่าทุกสถานที่ผลิต ปฏิบัติตามมาตรฐาน CoC สาหรับ CAB จะตรวจประเมินที่สานักงานกลาง และสุ่มตัวอย่างบางสถานที่ผลิต แทนที่จะตรวจประเมินทุกสถานที ทั้งนี้ ทุกสถานที่ผลิตจะใช้รหัสและใบรับรอง CoC เดียวกัน

ตัวอย่างขององค์กรที่อาจได้รับการรับรอง ตามมาตรฐาน CoC สาหรับกลุ่ม ได้แก่ ผู้ค้าส่งขนาดใหญ่ ซึ่งมีคลังสินค้า ตั้งอยู่ในหลายสถานที่ หรือเครือข่ายร้านอาหาร (ซึ่งเลือกที่จะไม่รับการรับรองตามมาตรฐาน CoC แบบติดต่อผู้บริโภคโดยตรง) ข้อกาหนดบางข้อ ของมาตรฐาน CoC ฉบับการรับรองแบบกลุ่ม เช่น การจัดซื้อจากผู้ขายที่ผ่านการรับรอง อาจไม่มีผลใช้ ในกรณีที่องค์กร เป็นฟาร์ม หรือผู้ทาประมงทางทะเล

โดยมาตรฐานห่วงโซ่การคุ้มครองของ MSC: ฉบับการรับรองแบบกลุ่ม มีส่วนประกอบของมาตรฐานด้วยกัน 6หลักการ ดังนี้

หลักการที่ 1 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง ถูกซื้อจากผู้ขายที่ผ่านการรับรอง

หลักการที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง สามารถชี้บ่งได้

หลักการที่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง มีการแยกไว้โดยเฉพาะ

หลักการที่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง สามารถสอบย้อนกลับได้ และมีการจดบันทึกปริมาณไว้

หลักการที่ 5 ระบบการจัดการขององค์กรตอบสนองข้อกาหนดของมาตรฐานนี้

5.1 ระบบบริหารการจัดการและการฝึกอบรม

5.2 การรายงานการเปลี่ยนแปลง

5.3 ผู้รับเหมาช่วง การขนส่ง และการรับเหมากระบวนการแปรรูป

5.4 ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน

5.5 คาร้องขอการสอบกลับ และการรับรองห่วงโซ่อุปทาน

5.6 ข้อกาหนดจาเพาะ สาหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การประเมิน

5.7 ข้อกาหนดจาเพาะ เกี่ยวกับแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก

หลักการที่ 6  ข้อกำหนดส่วนเพิ่มต่างๆ สำหรับ การรับรองแบบกลุ่ม

6.1 การควบคุมกลุ่ม

6.2 การขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิต และ การเพิ่มสถานที่ผลิต

6.3 การใช้ฉลาก Ecolabel , Logo และเครื่องหมายการค้าอื่นๆ

6.4  การตรวจติดตามภายใน

6.5  การประชุมทบทวนภายในของกลุ่ม

  1. ขอบข่ายของมาตรฐานห่วงโซ่การคุ้มครองของ MSC: ฉบับการรับรองแบบติดต่อผู้บริโภคโดยตรง

มาตรฐานห่วงโซ่การครอบครองของ MSC: ฉบับการรับรองแบบติดต่อผู้บริโภคโดยตรง (มาตรฐาน CoC CFO) มีผลกับองค์กร ที่ให้บริการ หรือจำหน่ายอาหารทะเล แก่ผู้บริโภคโดยตรง และมีคุณสมบัติ ตรงตามเกณฑ์การมีสิทธิ์อื่นๆ ที่จาเพาะเจาะจง องค์กรที่ติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง (CFO) เช่น ผู้ค้าปลีก หรือผู้ให้บริการอาหาร อาจเป็นแบบสถานที่ผลิตเดียว หรือมีหลายสถานที่ผลิต และจะมีการให้รหัส CoC หนึ่งรหัส

สาหรับทุกสถานที่ผลิต ภายใต้ระบบการจัดการขององค์กรที่จัดการหรือซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่รับรอง เช่นเดียวกับมาตรฐาน CoC สาหรับกลุ่ม CAB จะตรวจประเมินบางสถานที่ผลิต ที่อยู่ภายใต้การรับรอง ตัวอย่างของการรับรองแบบติดต่อผู้บริโภคโดยตรง ได้แก่ ร้านอาหาร เครือข่ายร้านอาหาร ผู้ขายอาหารทะเล ผู้ค้าปลีกที่มีแผนกอาหารทะเล และธุรกิจจัดเลี้ยง

MSC Chain of Custody Standard:Consumer-Facing Organisation (CFO) Version

มีส่วนประกอบของมาตรฐานด้วยกัน 5 หลักการ ดังนี้

หลักการที่ 1 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง ถูกซื้อจากผู้ขายที่ผ่านการรับรอง

หลักการที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง สามารถชี้บ่งได้

หลักการที่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง มีการแยกไว้โดยเฉพาะ

หลักการที่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง สามารถสอบย้อนกลับได้ และมีการจดบันทึกปริมาณไว้

หลักการที่ 5 ระบบการจัดการขององค์กรตอบสนองข้อกาหนดของมาตรฐานนี้

5.1 ระบบบริหารการจัดการและการฝึกอบรม

5.2 การรายงานการเปลี่ยนแปลง

5.3 ผู้รับเหมาช่วง การขนส่ง และการรับเหมากระบวนการแปรรูป

5.4 ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน

5.5 คาร้องขอการสอบกลับ และการรับรองห่วงโซ่อุปทาน

5.6 ข้อกาหนดจาเพาะ สาหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การประเมิน

5.7 ข้อกาหนดจาเพาะ เกี่ยวกับแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก

รูปแสดงการทำงานของ MSC ร่วมกับ ผู้ทำประมงค์  ผู้ขาย และผู้ค้าปลีก เพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนที่มากขึ้นของตลาดอาหารทะเล

สำหรับรายละเอียดของ ข้อกำหนด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้   https://www.msc.org/standards-and-certification/chain-of-custody-standard

สำหรับข้อกำหนดของมาตรฐาน MSC Chain of custody Standard  สามารถ Download ได้ที่

https://www.msc.org/for-business/certification-bodies/chain-of-custody-program-documents

 

3 ส่วนความยั่งยืนของสาหร่ายทะเล   ASC-MSC Seaweed Standard 

ASC และ MSC ได้ออกมาตรฐานร่วมกันสำหรับการผลิตสาหร่ายที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม

การดำเนินงานสำหรับสาหร่ายทะเล มีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น ผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของน้ำและโครงสร้างทางกายภาพของแหล่งที่อยู่อาศัยบนบกและในน้ำ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพน้ำ ผลผลิตขั้นต้นและรอง และการประมงพื้นเมือง[1] ด้วยการผลิตสาหร่ายทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับความต้องการการรับรอง MSC และ ASC ตระหนักถึงความสำคัญของการมีมาตรฐานที่ให้ผลตอบแทนแก่การผลิตสาหร่ายอย่างยั่งยืนและเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการปรับปรุง

สำหรับรายละเอียดของ ข้อกำหนด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้   https://www.asc-aqua.org/what-we-do/our-standards/seaweed-standard/

เมื่อผ่านการรับรองแล้วจะขอใช้ Logo ต้องทำอย่างไร  ?

สำหรับผู้ที่ผ่านการตรวจรับรองแล้ว ต้องทำการขออนุมัติ การใช้ Logo  จาก MSC  อย่างเป็นทางการ โดยรายะเอียดเอกสารต่างๆ  สามารถดูได้ที่  https://www.msc.org/for-business/use-the-blue-msc-label/approve

ตัวอย่าง Logo ที่อนุญาต ให้ใช้และ ข้อห้ามต่างๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   https://www.msc.org/for-business/use-the-blue-msc-label/guidelines

#จาก Food Team ของ Equal Assurance Thailand